หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

เหรียญเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส ปี36 เนื้อนวะ

เหรียญเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส ปี36 เนื้อนวะ

ยี่ห้อ :

เหรียญเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส ปี36 เนื้อนวะ

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

2,450.00

บาท

วันที่เริ่ม :

16 ส.ค. 2552 09:14:08

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:40:56

ip :

58.8.197.1xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

เจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทราวาส ปี36 หาก เอ่ยชื่อวัดเทพศิรินทราวาส แล้วนักนิยมพระเครื่องร้อยทั้งร้อยนึกถึงท่านเจ้าคุณนรรัตน์ ราชมานิต พระภิกษุอีกรูปหนึ่งที่ได้รับการยกย่องจากพุทธศาสนิกชน(ในยุคนั้น) ว่าเป็นอริยะสงฆ์ผู้สำเร็จในยุคกึ่งพุทธกาล ด้วยจริยาวัตรอันงดงามของท่านที่เคร่งครัดและไม่ยึดติดในลาภ ยศ ชื่อเสียง แม้ในช่วงที่ท่านอยู่ในเพศฆราวาส (ก่อนอุปสมบท) มียศถึงเจ้าพระยา กลับได้ชื่อว่าเป็นมหาดเล็กที่สมถะมักน้อยที่สุด เช่นการแต่งกาย ของท่านก็เป็นไปอย่างเรียบง่ายชอบสงบ ยามว่างท่านจะนั่งสมาธิตามลำพังเสมอ นับได้ว่าท่านเป็นผู้ถือศีล บริสุทธิ์ มาตั้งแต่สมัยเป็นฆราวาสทีเดียวและเมื่อท่านได้อุปสมบทเป็นพระภิกษุท่านก็ ไม่ปราถนาชื่อเสียง แต่กลับเป็นภิกษุที่มีชื่อเป็นอมตะจนทุกวันนี้ ผู้ที่ได้รับใช้ใกล้ชิดท่านนั้นเชื่อกันว่าท่านน่าจะสำเร็จญาณชั้นสูง แต่จะถึงอรหันต์หรือไม่นั้น ไม่มีใครตอบได้เพราะท่านเป็นพระที่ไม่โอ้อวด แต่ที่แน่ใจได้อย่างนึงก็คือ ท่านรู้วันมรณะของตนเอง งานอธิฐานครั้งสุดท้าย สังเกต ได้ จากก่อนที่ท่านจะมรณภาพเพียงไม่กี่วันท่านได้สั่งให้คุณปลัดโกศลผู้เป็นหลาน หากรวดที่ อ.บางบ่อ มาให้เพื่อที่จะปลุกเสกเป็นพระแม่ธรณีปฐวีธาตุ (นับได้ว่าเป็นวัตถุมงคลชนิดเดียวที่ท่านสั่งให้ทำขึ้น) แต่หลานของท่านก็ลืม วันต่อมาท่านจึงย้ำเตือนให้หามาด่วนเดี๋ยวจะไม่ทันการณ์ ซึ่งหลานท่านก็หามาจนได้ (ที่น่าแปลกอีกอย่างคือ ท่านไม่เคยออกนอกบริเวณวัดแต่ท่านกลับบอกสถานที่ ที่ให้เก็บกรวดได้ถูกต้อง ) และได้ทำการปลุกเสกทั้งหมด ๓ รอบวันที่ ๔ มกราคม รอบหนึ่งแล้วให้หามาอีก วันที่ ๕ มกราคม อีกรอบแล้วท่านก็ให้หามาอีก วันที่ ๗ มกราคม เป็นรอบสุดท้าย (ในขณะที่ท่านปลุกเสกท่านจะถือพานใส่ก้อนปฐวีธาตุตลอด หลานของท่านจึงใส่แต่น้อยเพราะกลัวท่านจะหนัก) และหลังจากที่ ท่านปลุกเสกครั้งหลังท่านพูดกับหลานท่านว่าคงเท่านี้ไม่ค่อยสบายเหนื่อย เหลือเกินโดยที่ไม่มีใครเฉลียวใจ เช้าวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ ก่อนที่ท่านลงทำวัตรเช้าท่านจะได้รับอาหารที่หลานชายของท่านนำมาถวาย ท่านกลับปฏิเสธและบอกกับหลานชายท่านว่า “วันนี้ไม่ฉัน” และให้นำอาหารกลับไป และในเช้าวันนั้นเองท่านก็ไม่ลงทำวัตรเช้าดังที่เคยปฏิบัติมาตลอด ๔๕ พรรษาและเย็นวันนั้นท่านก็ไม่ลงทำวัตรอีกจนกระทั่งเวลาประมาณ ๒๐.๐๐ น.เศษ แพทยที่มารักษาแผลจึงเปิดประตูกุฏิท่านดูก็พบว่าไม่ได้ลงกลอนไว้อย่างที่เคย ปฏิบัติ(ตามปรกติ ท่านจะลงกลอนทุกครั้ง)จึงขึ้นไปดูข้างบนจึงพบว่าท่านนอนจำวัดอยู่ ในมุ้งกายของท่านห่มจีวรอยู่ในอาการสงบนิ่ง แพทย์ให้ข้อสันนิษฐานว่าท่านมรณภาพในเวลาประมาณ ๑๑.๐๐ น.เศษ เมื่อศึกษาประวัติและวัตรปฏิปทาของท่านโดยตลอดแล้ว จะเห็นได้ว่าท่านน่าจะได้เป็นอริยสงฆ์ดังคำที่ร่ำลือกล่าวขวัญกันทุกมุม เมือง เพราะท่านเป็นผู้ที่ปฏิบัติดี ปฏิบัติเพื่อออกจากทุกข์โดยแท้จริง จึงเป็นผู้ที่ควรแก่การกราบไหว้สักการะบูชาอย่างยิ่ง ประวัติโดยสังเขป พระภิกษุธัมมวิตกโกภิกขุ เดิมชื่อ ตรึก จินตยานนท์ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ ๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๔๐ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๓ ปีระกา เวลาประมาณ ๗.๔๐ น. (ตรงกับวันมาฆะบูชา) เป็นบุตรคนโตของคุณพระนรราชภักดี (ตรอง จินตยานนท์) มารดาชื่อ ภุก จินตยานนท์ ส่วนสถานที่กำเนิดของท่านคือ บ้านเลขที่ ๙๒ ถนนพะเนียง หลังวัดโสมนัสวิหาร อ.ป้อมปรบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ เมื่อเจริญขึ้นท่านก็ได้เข้าศึกษาวิชาเบื้องต้นที่โรงเรียนวัดโสมนัส จนจบชั้นประถม (ซึ่งเป็นชั้นสูงสุดในสมัยนั้น) และได้เข้าศึกษาชั้นมัธยมที่โรงเรียนวัดเบญจมบพิตร สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมด้วยการสอบได้ที่ ๑ ของสนามสอบ(การสอบในสนามสอบ ในสมัยนั้นเป็นการสอบรวมกันหลาย ๆ โรงเรียนโดยใช้ข้อสอบเดียวกัน ฉะนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าท่านสอบได้ที่ ๑ ของประเทศในสมัยนั้น) และได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนข้าราชการพลเรือน (ปัจจุบันคือ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) โดยเลือกเรียนวิชารัฐศาสตร์ ซึ่งไม่ค่อยตรงกับที่ท่านตั้งใจไว้เพราะแต่เดิมท่านสนใจในวิชาแพทย์ แต่ด้วยบิดาท่านเป็นนักปกครอง อยากจะให้ท่านเป็นนักปกครองตามท่านจึงเลือกเรียนตามความประสงค์ของบิดา และในขณะที่ท่านศึกษาอยู่เมื่อมีเวลาว่าง ท่านก็จะเข้าเรียนพิเศษภาษาอังกฤษกับครูเฉลิม สำหรับการเรียนวิชารัฐศาตร์ของท่านนั้นท่านจบด้วยการสอบไล่ได้ที่ ๑ ของชั้นเรียน ภายหลังจากการที่ท่านศึกษาอยู่ในปีสุดท้าย นักศึกษาในปีนั้นต้องเข้ารับการซ้อมรบเสือป่า ในฐานะนักเรียนเสือป่ารักษาพระองค์ และในการซ้อมรบครั้งนี้เองทำให้ชีวิตของท่านเปลี่ยนแปลงไป เดิมนั้นต้องการเป็นข้าราชการปกครองกลับต้องมาเป็นข้าราชการในสำนักฯ เพียงเพราะล้นเกล้า รัชกาลที่ ๖ เห็นท่านรูปร่างเล็กจึงทรงรับสั่งถามว่า “ตัวเล็ก ๆ อย่างนี้ถ้าเกิดข้าศึกดักทำร้ายแล้วจะสู้เขาไหวหรือ” ท่านจึงกราบบังคมทูลว่า “ต้องขอลองสู้ดูก่อน ส่วนจะไหวหรือไม่ เป็นอีกเรื่องหนึ่งขอรับ” ถ้อยคำกราบบังคมทูลในครั้งนั้นเป็นที่พอพระราชหฤทัยของล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ มาก หลังจากซ้อมรบเสือป่าเสร็จสิ้นแล้วก็ทรงโปรดให้ ท่านเป็นฝ่ายในและโปรดเกล้าให้ท่านเข้าไปรับใช้ประจำห้องบรรทมในที่สุด และด้วยความจงรักภักดีที่ท่านมีต่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ท่านจึงปฏิบัติรับใช้ด้วยความขยันและซื่อสัตย์จนเป็นที่โปรดปรานของ ล้นเกล้าฯ จนได้รับโปรดเกล้าพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยาพานทองที่พระยานรรัตน์ ราชมานิต เมื่อปี พ.ศ.๒๔๖๒ (ขณะนั้นท่านอายุเพียง ๒๕ ปีเท่านั้น) และได้พระราชทานสายสะพาย ประถมาภรณ์มงกุฎไทย กล่าวกันว่าในงานพระราชทานสายสะพายในครั้งนั้นมีท่านเพียงคนเดียวที่ยัง หนุ่มอยู่ เพราะผู้ที่ ได้รับพระราชทานสายสะพายโดยมากจะเป็นข้าราชบริพารชั้นผู้ใหญ่ทั้งสิ้นการที่ ล้นเกล้าฯ ทรงประทานความเมตตาอย่างพิเศษนั้น ทำให้ท่านต้องผจญความริษยาของบรรดาข้าราชบริพารอื่น ๆ ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และผู้น้อยอย่างรุนแรง แต่ก็ใช้ความมีอุเบกขาเข้าต่อสู้ ประกอบกับที่ท่านมีนิสัยสมถะมักน้อย ไม่ยินดียินร้ายกับใครทั้งสิ้น อยู่อย่างสันโดษ ยามว่าท่านจะศึกษาวิชาโยคศาตร์และการเพ่งกสิณด้วยที่ว่าวิชานี้ เพิ่มความสงบให้แก่ท่านอย่างมากทีเดียวตลอดระยะเวลาที่ท่านอยู่ในวังไม่เคย ปรากฏว่าท่านจะอาละวาดเอาความกับใคร จะมีเพียงครั้งเดียวที่ท่านอาละวาดขึ้นมาอย่างดุเดือด ทั้งบริภาษด้วยถ้อยคำรุนแรงทั้งลงมือลงเท้า เตะต่อยข้าราชบริพารกลุ่มหนึ่ง แตกกระเจิดกระเจิง นั่นคือตอนที่ล้นเกล้ารัชกาลที่ ๖ ทรงประชวรหนักใกล้จะเสด็จสู่สวรรคาลัย พวกข้าตาชบริพารเหล่านั้นนอกจากจะไม่ถวายความจงรักภักดีแล้วยังหยอกล้อเล่น กันดังเข้ามาถึงห้องประชวร แถมบางคนยังมาสูบบุหรี่โขมงในห้องเสียอีก ท่านทนต่อความไร้มารยาทนนั้นไม่ไหวก็เลยลงมือลงเท้าเอา ซึ่งทำให้เข้าใจกันว่าท่านเกิดวิกลจริตขึ้นมา (เพราะธรรมดาท่านจะอยู่อย่างสงบไม่เคยมีปากเสียงกับใคร) คุณท้าวอินทร์สุริยาบริพารผู้ใหญ่ฝ่ายในต้องมาขอให้ท่านแม่ของท่านไปปลอบโยน ท่านให้ใจคอเยือกเย็นลง ภายหลังล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ สวรรคตแล้ว ท่านจึงตัดสินใจบวชอย่างเงียบ ๆ เป็นการถวายพระราชกุศลต่อรัชกาลที่ ๖ ในวันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๔๖๘ โดยครั้งแรกนั้นท่านลาบวชเพียงพรรษาเดียว จากนั้นท่านก็พลัดเป็นสองพรรษา สามพรรษา แม้กระทั่งรัชกาลที่ ๗ ท่านทรงเห็นว่า พระยานรรัตน์ราชมานิต เป็นผู้ที่ซื่อสัตย์ มั่นคงทั้งสูงด้วยความกตัญญูกตเวที ทั้งเป็นผู้ที่มีความรู้สูง สมควรที่จะแต่งตั้งให้รับราชการต่อไป ดังในสัญญาบัตรแต่งตั้งตอนหนึ่งมีใจความว่า “ขอประกาศแก่ท่านทั้งหลายทั้งปวงฤาผู้หนึ่งผู้ใด ซึ่งจะได้พบอ่านคำประกาศนี้ให้ทราบว่า เราได้ตั้งใจให้จางวางตรีเจ้าพระยานรรัตน์ราชมานิต (ตรึก จินตยานนท์) ปม.ท.จมว.ม.ล.มว.ป.ร.ต. ซึ่งเป็นที่รักใคร่ไว้วางใจของเรา เป็นองคมนตรีรับปรึกษาราชการในตัวเรา เพิ่มศักดินาขึ้นอีก ๑,๐๐๐ เพื่อจะได้ช่วยเราคิดทำนุบำรุงแผ่นดิน ให้เป็นคุณประโยชน์ มีความเจริญสมบูรณ์ ฯลฯ” แต่ท่านก็ไม่ยอมลาสิกขาออกไปรับตำแหน่ง คงยังพลัดยืดกาลาสิกขาออกไปอย่างไม่มีกำหนดจนกระทั่งถึงแก่กาลมรณภาพ ในวันที่ ๘ มกราคม ๒๕๑๔ สิริรวมอายุ ๗๔ ปี ๔๖ พรรษา

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.