หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

สมเด็จกำแพงแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกปลุกเสก ปี2500 กว่าๆ

สมเด็จกำแพงแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกปลุกเสก ปี2500 กว่าๆ

ยี่ห้อ :

สมเด็จกำแพงแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกปลุกเสก ปี2500 กว่าๆ

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

10,000.00

บาท

วันที่เริ่ม :

30 ส.ค. 2552 15:12:47

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:38:10

ip :

58.11.66.xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

สมเด็จกำแพงแก้ว หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอกปลุกเสก สร้างวัดรัมการาม ลพบุรี ปี2500 กว่าๆ ประวัติ เกิด ปี พ.ศ.2415 เป็นบุตรของพ่อยอด แม่ขลิบ พื้นเพเป็นคน ต.หน้าไม้ อ.บางไทร อยุธยาฯ อุปสมบท เมื่ออายุ 21 ปี ตรงกับ พ.ศ. 2435 ณ วัดบางปลาหมอ มรณภาพ วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2508 รวมสิริอายุ 92 ปี 71 พรรษา วัตถุมงคลที่ได้รับความนิยม วัตถุมงคลที่ท่านปลุกเสกเอาไว้มีมากมายหลายรุ่น โดยเหรียญรุ่นแรกสร้างเมื่อปี พ.ศ.2484 ที่ระลึกในการสร้างหอสวดมนต์ มีเนื้อทองแดงกะไหล่ทอง และทองแดงรมดำ แต่เหรียญที่ได้รับความนิยมสูงสุดคือ เหรียญเสมา ปี พ.ศ. 2485 ทั้งประเภทพิมพ์หน้าใหญ่ และพิมพ์หน้าเล็ก มีทั้งเนื้อเงินลงยา เนื้อเงิน และเนื้อทองแดง นอกจากเหรียญรุ่นต่าง ๆ แล้ว ยังมีรูปหล่อ ตะกรุด ผ้ายันต์ และเครื่องรางของขลังอีกหลายชนิด พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา วัตถุมงคลท่านเด่นทางด้าน คงกระพันชาตรี หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เทพเจ้าแห่งคาามเมตตา วัดหน้าต่างนอก จ.อยุธยา หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เป็นครูบาอาจารย์รุ่นเก่าที่ได้ล่วงลับดับสังขารไปแล้ว ตามวิสัยแห่งชีวิตมวลสัตว์โลกทั้งหลายที่มีเกิดแล้วต้องมีแก่ เจ็บ และตายไปในท้ายที่สุด แต่ทว่าในช่วงชีวตของพระคุณท่าน ได้สร้างสมความดีทั้งโดยฝ่ายโลกและฝ่ายธรรมไว้เป็นอเนกอนันต์ เป็นที่เล่าขานบอกกล่าวกันมาอย่างไม่รู้จักจบสิ้น แม้ว่าท่านจะล่วงลับดับขันธ์ไปนานนับเป็นสิบ ๆ ปี ก็ตาม ตรงกันข้ามสภาวะแห่งความเจริญของสังคมยุคปัจจุบันที่มุ่งเน้นในวิทยาการสมัย ใหม่ เป็นสังคมวัตถุนิยม บูชาในคุณค่าของวัตถุเหนือสภาพจิตใจ เป็นเหตุให้พลโลกทั้งหลายล้วนมีจิตใจที่เสื่อมทราบ มีความเห็นแก่ตัวตนของตนมากยิ่งขึ้น จนถึงกับมองข้ามหลักศีลธรรมจรรยาว่าเป็นสิ่งไร้ค่าหาสาระไม่มี ด้วยความเป็นไปในสังคมยุคใหม่ที่ว่านั้น จึงทำให้ผู้มีปัญญาหวนกลับมามองเห็นถึงคุณค่าแห่งศีลธรรม ซึ่งเหตุนั้น เรื่องราวของครูบาอาจารย์ที่อุดมด้วยความดีงาม จึงโดดเด่นเป็นที่สนใจใคร่รู้ เป็นแบบอย่างอีกครั้งหนึ่ง ชีวิตความเป็นมาของหลวงพ่อจง พุทธัสสโร นี้ก็เช่นกัน นับเป็นเนติแบบอย่างแก่ผู้ใฝ่ดีทั้งหลายได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะผู้อยู่ในเพศบรรพชิตด้วยแล้ว หากได้อ่านได้ศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว ย่อมจะรู้ได้ว่า ผู้เป็นพระนั้นควรจะเป็นอยู่อย่างไร และ......เป็นพระแท้แล้วหรือยัง หลวงพ่อจง พุทธัสสโร ท่านมีนามเดิมว่า “จง” กำเนิดมาในตระกูลชาวนาในท้องที่ตำบลหน้าไม้ อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เรียกว่าเป็นเชื้อสายแห่งคนดีศรีอยุธยาอีกคนหนึ่ง ที่ทั่วสรรพางค์กายล้วนเต็มเปี่ยมด้วยเลือดนักสู้ สมชาติชายไทย บิดาท่านมีนามว่า นายยอด มารดานามว่า นางขลิบ ซึ่งท่านทั้งสองมีบุตร-ธิดาด้วยกันทั้งสิ้น 3 คน คือ 1. เด็กชายจง ต่อมาคือ หลวงพ่อจง พุทธัสสโร เป็นบุตรคนโต 2. เด็กชายนิล เป็นคนรอง ต่อมาคือพระอธิการนิล เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน 3. เด็กหญิงปลิก เป็นน้องคนเล็ก และเป็นผู้หญิงคนเดียว สำหรับวันเดือนปีเกิดหรือวันถือกำเนิดของหลวงพ่อจง พุทธัสสโร นั้น เนื่องจากเป็นเหตุการณ์ที่ล่วงเลยผ่านพ้นมานาน อีกทั้งการบันทึกก็มิได้มีหลักฐานที่เด่นชัด เป็นแต่ระบุไว้พอรู้ความว่า ได้กำเนิดในสมัยต้นรัชกาลที่ 5 แห่งราชวงศ์จักรี ณ วันพฤหัสบดี เดือน 4 ปีวอก อันเป็นวันขึ้น 8 ค่ำ ที่ตรงกับวันที่ 6 เดือนมีนาคม พ.ศ.2415 และด้วยเวลานั้นยังไม่มีการใช้ชื่อสกุล จึงไม่มีการระบุชื่อนามสกุลเดิมของท่านไว้ วัยเยาว์ เด็กชายจง บุตรชายคนโตของคุณพ่อยอด คุณแม่ขลิบ เมื่อกำเนิดลืมตาดูโลกแล้ว ได้รับการเลี้ยงดูตามฐานะแห่งตระกูล เช่นลูกหลานชาวท้องทุ่งท้องนาทั้งหลาย มิได้มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่มีลักษณะพิเศษเกินกว่าเด็กชาวนาคนอื่น ๆ เลยแม้แต่น้อย หรือแม้แต่อากัปกริยาที่จะแสดงอาการส่อแววว่า ในโอกาสต่อมาเมื่อเติบใหญ่แล้ว ชีวิตจะต้องก้าวเข้ามาสู่ฐานะภิกษุสงฆ์ อันเป็นที่เคารพบูชาของมวลชนทั้งหลาย ดังที่ปรากฎเป็นเกียรติคุณเป็นที่ล่ำลือกันมาจนตราบเท่าทุกวันนี้ แต่ทว่าชีวิตในวัยเยาว์ของหลวงพ่อจง หรือเด็กชายจงในเวลานั้น กลับปกปิดความเป็นคนเหนือคนสามัญทั้งหลายไว้อย่างมิดชิดแนบแน่น ด้วยการอยู่ในฐานะเช่นผู้อาภัพอับโชค อุดมไปด้วยทุกขโรคามากกว่าชีวิตที่เป็นสุข มีความร่าเริงเบิกบานตามวิสัยเด็กทั้งหลายโดยทั่วไป ด้วยการที่เด็กชายจง ถูกโรคาพยาธิเบียดเบียนมาตั้งแต่เล็กแต่น้อย จึงทำให้รูปร่างหน้าตาในสมัยเป็นเด็กค่อนข้างจะผอมโซ หน้าตาซีดเซียว ร่างกายไม่แข็งแรงดังเช่นลูกชาวนาทั้งหลาย ซ้ำยังมีอุปนิสัยค่อนข้างจะขี้อาย เซื่องซึม ขาดความกระตือรือร้น ชอบเก็บตัวอยู่ตามลำพัง ลักษณะดังเป็นเช่นเด็กทุพพลภาพ ที่ร้ายไปกว่านั้น เด็กชายจงยังถูกเคราะห์กรรมซ้ำเติมให้มีอาการหูอื้อจนเกือบหนวก รับฟังเสียงอะไรต่างไม่ถนัดชัดเจน นัยน์ตามืดมัว ฝ้าฟาง มองอะไรไม่ชัดเจน ทำให้อากัปกริยาการเคลื่อนไหวไปมาพลอยเชื่อช้าแบบเก้ ๆ กัง ๆไปด้วย และเป็นคนพูดน้อย ชนิดถามคำก็ตอบคำ หรือไม่ยอมพูดเอาเสียเลยก็มี เหล่านี้คือบุคคลิกภาพในสมัยเยาว์วัยของเด็กชายจง เป็นเช่นยามเฝ้าบ้าน จากบุคคลิกภาพดังกล่าวมาของเด็กชายจง ผสมกับสุขภาพที่ไม่สู้จะสมบูรณ์นัก วัยเยาว์อันควรเป็นวัยที่แจ่มใสสดชื่น จึงเต็มไปด้วยความออดแอดขี้โรค ยิ่งเติบโตจากอายุ 8 ขวบ ไปแล้ว อาการต่าง ๆ เหล่านั้นก็ยิ่งแสดงทีท่าว่าจะกำเริบหนัก เลยทำท่าว่าจะไปไหนมาไหนโดยลำพังไม่ได้เสียเลย เขาว่าคืนนี้มีลิเกสนุกอยากจะไปดู ก็ต้องให้ญาติพี่น้องจูงไม้จูงมือไต่เต้าตามหัวคันนา บุกน้ำท่องโคลน เดินเดาสุ่มตามหลังคนอื่นไป พอไปถึงแล้วถึงเวลาลิเกเล่น มองเห็นตัวลิเกมั่งไม่เห็นมั่งไปตามเรื่อง เพราะสายตาไม่ดี และมักจะหลบฝูงชนออกไปซุ่มดูอยู่ห่าง ๆ ตามโคนต้นไม้ห่างจากผู้คนอื่น ๆ ไม่นิยมการไปรวมกลุ่มอยู่กับใคร ๆ การไปดูลิเกของเด็กชายจง จะว่าเป็นการหาความบันเทิงจากการฟังเสียง ก็ไม่น่าจะเป็นไปได้ ก็เพราะนอกจากตาไม่แจ่มใสแล้ว หูก็ยังไม่สามารถฟังเสียงอะไรได้ถนัดอีกด้วย เสียงกลอง เสียงปี่ พิณพาทย์ เครื่องเสียงประกอบการแสดงของลิเก ถึงฟังได้ก็ไม่ตลอด แบบได้ยินบ้างไม่ได้ยินบ้าง เอาเรื่องเอาราวอะไรไม่ได้ สรุปแล้ว การไปดูลิเกของเด็กชายจงจึงมีค่าเท่ากัน จะไปหรือไม่ไปดูก็ไม่มีอะไรต่างกัน ฉะนั้น เมื่อมีผู้ถามว่า “ไง...ไปดูลิเกสนุกไหม” คำตอบก็คือ หัวเราะ หึ หึ ครั้นถูกถามว่าลิเกเล่นเรื่องอะไร คำตอบก็เช่นกันคือเพียงหัวเราะ หึ หึ มีเหมือนกันเมื่อถูกรุกถามหนัก ๆ เข้าจึงตอบเป็นคำพูดสักคำว่า“อือม์...สนุก”และนั่นก็เป็น คำตอบที่ยาวที่สุด นาน ๆ ครั้งจึงจะมีผู้ได้ยินคำตอบอย่างนี้สักครั้งหนึ่ง แต่จะมีเฉพาะกรณีถูกรุมเร้าหรือถูกรุมหนักเท่านั้น ดังนั้นต่อ ๆ มา ลิกงลิเกหรืองานวัดอะไรต่างก็ไม่มีโอกาสได้ดูกับใครอื่นเขา เพราะคนที่จะพาจูงไปคร้านที่จะเอาธุระ ซึ่งจะเพิ่มภาระให้เกิดแก่ตนเอง ในที่สุดเด็กชายจงจึงได้รับมอบหมายหน้าที่ใหม่ให้เป็นพิเศษ คือเป็นยามเฝ้าบ้าน ใครเขาจะไปไหนมาไหนก็ตามแต่ เด็กชายจงเป็นได้เฝ้าบ้านทุกครั้ง แต่ก็มีอยู่ประการหนึ่งที่เด็กชายจงไม่ยินยอมเป็นยามเฝ้าบ้านให้เป็นเด็ด ขาด คือในเวลาที่มีการทำบุญตักบาตร การไปวัดในวันธรรมสวนะ เด็กชายจงเป็นต้องรบเร้าขอร้องให้พ่อแม่ ญาติพี่น้อง พาตนไปด้วยให้จงได้ ซึ่งถ้าถูกปฏิเสธห้ามปราม เขาจะคร่ำครวญร่ำไห้แสดงความทุกข์ออกมาให้เห็นอย่างน่าสงสาร จึงเป็นอันว่า เด็กชายจงจะได้ออกนอกบ้านก็เฉพาะแต่การไปทำบุญตักบาตร ฟังเทศน์ฟังธรรม ตามโอกาสงานบุญเท่านั้น เข้าวัด....อยู่วัด ชีวิตของหลวงพ่อจง พุทธัสสโรในวัยเด็ก ไม่มีสิ่งใดผันแปร คงเป็นไปอยู่เรื่อย ๆ มาเรียง ๆ ราบเรียบดังเช่นน้ำในอ่างดังเช่นที่กล่าวมาแต่ต้น จนกระทั่งอายุได้ 12 ปี ความเปลี่ยนแปลงจึงเกิดขึ้น คือทางพ่อแม่มีความเห็นถึงอุปนิสัยของเด็กชายจง บุตรชายคนโตตรงกันว่า เป็นผู้มีความชอบวัด ติดวัด รักชอบในอันที่จะไปวัดมากกว่าที่เที่ยวเตร่หาความสนุกในที่ใด ๆ ทั้งหมด ดังนั้น ท่านจึงสรุปความตรงกันว่า เมื่อเด็กชายจงชอบวัด ต้องการจะไปวัดอยู่ทุกเมื่อเชื่อวัน แทนที่ตนหรือคนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องลำบากจูงมือนำพาลัดเลาะคันนา ถึงแม้จะไม่ห่างไกลเท่าใดนักก็ตามเถิด แต่เมื่อต้องทำอยู่ทุกบ่อย ก็ให้เกิดความคิดว่าน่าที่จะให้ไปอยู่วัดเสียเลย คิดเห็นตรงกันดังนั้นแล้ว จึงได้เผยความคิดเห็นดังกล่าวให้เจ้าตัว คือเด็กชายจงได้รับรู้ด้วย แทนที่จะคิดเสียใจน้อยใจในทำนองที่ว่า พ่อแม่จะตัดหางปล่อยวัดหรือเลยเถิดไปถึงว่าพ่อแม่สิ้นรักสิ้นเมตตาตนแล้ว กลับเป็นความปลื้มปิติใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะวัดเป็นที่ร่มเย็น เป็นที่ปรารถนาของตนอยู่แล้ว เด็กชายจงจึงรับคำพ่อแม่อย่างเต็มอกเต็มใจไม่มีอิดออด เวลาต่อมา เด็กชายจงจึงได้รับการบรรพชาเป็นสามเณร ณ วัดหน้าต่างใน อันเป็นวัดใกล้บ้าน ที่เด็กชายจงเคยไปมาหาสู่อยู่เสมอนั่นเอง และนับเป็นเรื่องแปลกประหลาดมหัศจรรย์เป็นอย่างยิ่ง ตั้งแต่ได้บรรพชาเป็นสามเณรแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ รวมทั้งโรคหูอื้อ ตาฝ้าฟาง ที่เป็นเรื้อรังมานานปีกลับหายไปจนหมดสิ้น สามเณรจงกลับมีสุขภาพสมบูรณ์พลานามัยดีมาก เป็นสุขอยู่ในเพศพรหมจรรย์ ดุจเป็นนิมิตให้ทราบว่า ท่านจะต้องครองเพศมีชีวิตอยู่ใต้ร่มผ้ากาสาวพัสตร์ไปตลอดชีวิต สมดังพุทธอุทานที่ว่า....สาธุ โข ปพพฺชชา...การบรรพชายังประโยชน์ให้สำเร็จ ดังนั้น เมื่ออายุครบอุปสมบทในปี พ.ศ.2435 โยมบิดามารดาจึงจัดพิธีอุปสมบทให้ได้เป็นพระภิกษุต่อไป ณ พัทธสีมาวัดหน้าต่างในที่พำนักอยู่ โดยมี พระอุปัชฌาย์สุ่น (หลวงพ่อสุ่น วัดบางปลาหมอ) เจ้าอาวาสวัดบางปลาหมอ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์อินทร์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างนอก เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอาจารโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน เป็นพระอนุสาวนาจารย์ จากพิธีอุปสมบทในครั้งนั้น พระภิกษุจงได้รับสมญานามตามเพศภาวะว่า “พุทธัสสโรภิกขุ” และพำนักเพื่อศึกษาพระธรรมวินัย ตลอดจนวิชาการต่าง ๆ ที่พระภิกษุพึงจะต้องเรียนรู้เท่าที่มีอยู่ในสมัยนั้น ณ วัดหน้าต่างในนั่นเอง เรียนวิชาอาคม ชีวิตของหลวงพ่อจง หลังจากที่ได้อุปสมบทแล้ว ได้ปรากฎเหตุอันน่าแปลกมหัศจรรย์เด่นชัดขึ้น เพราะนอกจากจะหายป่วยหายไข้แล้ว เมื่อได้มาศึกษาหาความรู้ในด้านธรรมะ คือได้ศึกษาพระปริยัติธรรมและธรรมสิกขา พร้อมทั้งฝึกฝนในด้านการเขียนอ่านอักษรทั้งไทยและขอมจากท่านพระอาจารโพธิ์ เจ้าอาวาสวัดหน้าต่างใน ซึ่งเป็นพระอนุสาวนาจารย์ พระภิกษุจงได้แสดงออกถึงความในอัจฉริยะ ด้วยการเรียนรู้จดจำสิ่งที่ได้รับถ่ายทอดมาอย่างแม่นยำและเข้าใจทุกสิ่งทุก อย่าง จนใคร ๆ ทั้งหลายที่รู้พื้นความเป็นมาต่างพากันอดแปลกใจสงสัยเสียมิได้ว่า “เอ๊ะ..ทำไมภิกษุจงจึงมิยักงมโข่งหรืออุ้ยอ้ายอับปัญญา เหมือนกับบุคลิกที่อ่อนแออมโรค ที่ส่อแสดงว่าน่าจะเป็นไปในทางทึบหรืออับ เรียนรู้จดจำอะไรไม่แม่นยำ” และยิ่งเพิ่มความแปลกมหัศจรรย์แปลกไกลไปกว่านั้น ภายหลังจากที่ได้กระจ่างแจ้งในพระธรรมและภาษาหนังสือพอสมควรแล้ว พระอาจารย์โพธิ์ที่เล็งเห็นแววว่าน่าจะเป็นไปได้ของพระภิกษุจง ได้ให้การถ่ายทอดวิชาในด้านเวทวิทยาคมที่ท่านเชี่ยวชาญจนเป็นที่เลื่องลือ ถือกันว่า พระอาจารย์โพธิ์คือยอดแห่งผู้ทรงเวทในสมัยนั้นให้กับพระภิกษุจงด้วย ผลก็ปรากฎว่า พระภิกษุจงสามารถน้อมรับวิชาไว้ได้ทุกกระบวนมนต์ สำเร็จแตกฉานชนิดสิ้นภูมิผู้เป็นอาจารย์กันเลยทีเดียว และด้วยการได้รับถ่ายทอดวิชาให้ชนิดไม่มีการปิดบังซ่อนเร้นภูมิรู้ใดไว้ของ พระอาจารโพธิ์ จึงทำให้พระภิกษุจงได้ก้าวเข้ามาทำหน้าที่เป็นที่รวมใจ ที่พึ่งพิงของญาติโยมแทนผู้เป็นอาจารย์ในเวลาต่อมา ฝึกกรรมฐาน การแสวงหาความรู้ของพระภิกษุจง มิได้หยุดยั้งอยู่แต่เพียงภายในวัดหน้าต่างในที่พักอาศัยเท่านั้น เมื่อเจนจบในภูมิความรู้ของพระอาจารย์โพธิ์ผู้เป็นอาจารย์แล้ว ท่านยังคงเสาะแสวงหาที่เรียนต่อไปอีก ได้รู้ได้ทราบข่าวว่าที่หนึ่งที่ใด สำนักไหนมีครูบาอาจารย์ที่ทรงภูมืความรู้ จะเป็นวิชาแขนงใดก็ดี หากเห็นว่าไม่ขัดฝืนต่อธรรมวินัย เป็นวิชาที่เอื้อต่อการพัฒนาจิตใจของตน พระภิกษุจงเป็นไม่ลดละที่จะหาทางไปฝากตนเป็นศิษย์เรียนวิชาด้วย หนทางที่ไกลแสนไกล ระหว่างทางล้วนมีแต่ความยากลำบากต้องฝ่าฟันในอุปสรรคและเสี่ยงต่อภยันตราย นานาสารพัดอย่าง มิใช่สิ่งที่จะหยุดยั้งเปลี่ยนวิถีความตั้งใจในการเรียนรู้หาวิชาของภิกษุจง ได้ สองเท้าท่านคงย่ำไปจนถึงทุกสำนัก แล้วก็กลับคืนมาพร้อมความสำเร็จทุกแขนงวิชาแห่งสำนักนั้น ๆ ทุกครั้งคราวไป อย่างเช่นการไปเรียนวิชาฝ่ายกรรมฐาน กับพระอาจารย์หลวงพ่อปั้น วัดพิกุล ซึ่งเป็นผู้มีชื่อเสียงโด่งดัง เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า ท่านเป็นพระมหาเถระฝ่ายอรัญวาสีผู้ยิ่งใหญ่ที่แตกฉานในสมถะวิปัสสนากรรมฐาน ท่านหนึ่งในยุคสมัยนั้น พระภิกษุจงได้ไปฝากตัวหมั่นศึกษาพากเพียรเรียนวิชาด้วยอิทธิบาทที่แก่กล้า เป็นเวลาช้านาน จนกระทั่งเป็นที่ยอมรับในภูมิธรรมจากผู้เป็นอาจารย์ จึงได้เดินทางกลับสู่วัดหน้าต่างใน

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.