หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

พระโชว์.........พระบุทองคำ หน้าตัก 1 นิ้ว สมัยอยุธยา ในกรุโบราณจังหวัดอยุธยา

พระโชว์.........พระบุทองคำ หน้าตัก 1 นิ้ว สมัยอยุธยา ในกรุโบราณจังหวัดอยุธยา

ยี่ห้อ :

พระโชว์.......พระบุทองคำ หน้าตัก 1 นิ้ว สมัยอยุธยา ในกรุโบราณจังหวัดอยุธยา

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

85,000.00

บาท

วันที่เริ่ม :

11 ต.ค. 2552 21:08:13

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:36:22

ip :

61.90.22.1xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

พระโชว์.......พระบุทองคำ หน้าตัก 1 นิ้ว สมัยอยุธยา ในกรุโบราณจังหวัดอยุธยา พระสมัยอยุธยา พระพุทธรูปสมัยอยุธยากำเนิดในช่วงพุทธศตวรรษที่ ๑๙-๒๔ นับเป็นราชธานีที่มีอายุยืนที่สุด มีความเลื่องลือ ในด้านการแกะสลักไม้ การประดับมุก การเขียนลายรดน้ำ และจิตกรรมฝาผนัง แต่สำหรับการหล่อพระพุทธรูปนั้น ฝีมือยังสู้สมัยสุโขทัย เชียงแสน อู่ทองไม่ได้ ถึงแม้จะพัฒนาศิลปะมาจากสมัยอู่ทอง สุโขทัยก็ตาม พระพุทธรูปสมัยอยุธยาสามารถแบ่งได้ ๓ ยุค ดังต่อไปนี้ ยุคต้น ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่หนึ่ง (พระเจ้าอู่ทอง) ถึงสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นับเป็น พระพุทธรูปแบบอู่ทองอย่างแท้จริง เชื่อว่าได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปอู่ทองบริสุทธิ์ เช่น พระเจ้าพนัญเชิง ในวิหาญวัดพนัญเชิง ต่อมานิยมสร้างแบบอู่ทองรุ่นที่ ๓ ขึ้น เช่นพระพุทธรูปขนาดย่อมจำนวน ๓๕๖ องค์ เพื่อ บรรจุลงในพระปรางค์ใหญ่ของวัดราชบูรณะ ในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ ๒ ยุคที่กลาง เป็นศิลปะอยุธยาโดยแท้กำเนิดขึ้นในสมัยรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ราวพุทธศักราช ๑๙๙๑-๒๐๓๑ พระพุทธรูปมีลักษณะพระพักตร์และพระรัศมีตามแบบสุโขทัย ไรพระศกเล็กตามแบบอู่ทอง สังฆาฏิขนาดใหญ่กว่าสุโขทัยแต่ปลายสังฆาฏิเป็นเส้นตรงหรือทำเป็นสองแฉกลงมา ตามแบบอู่ทอง พระพุทธรูป ยุคนี้จะรับอิทธิพลมาจากสมัยสุโขทัยเป็นส่วนใหญ่ พระพุทธรูปที่สำคัญในสมัยนี้เช่น พระศรีสรรเพชญซึ่งเข้าใจ ว่าสร้างตามแบบพระอัฏฐรสในกรุงสุโขทัย เป็นพระพุทธรูปที่มีขนาดใหญ่ และมีค่ามากที่สุดในกรุงศรีอยุธยา หุ้มด้วยทองคำหนัก ๒๘๖ ชั่ง (๒๒,๘๘๐ บาท) แต่ถูกข้าศึกลอกเอาทองที่หุ้มองค์พระไปเมื่อตอนที่กรุงแตกครั้งที่ ๒ ยุคสุดท้าย เริ่มตั้งแต่รัชกาลสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง พุทธศักราช ๒๑๙๘ นิยมสร้างแบบทรงเครื่องใหญ่ และทรงเครื่องน้อย ส่วนมากเป็นพระพุทธรูปยืนปางประทานอภัย ปางห้ามญาติ หรือปางห้ามสมุทร พระพุทธรูปแบบทรงเครื่องน้อย สันนิษฐานว่าได้แบบอย่างมาจากพระพุทธรูปยืนปางประธานอภัยในสมัยลพบุรี ที่แผ่อิทธิพลมาถึงสุโขทัยอีกต่อหนึ่ง เครื่องประดับองค์พระพุทธรูปนั้นเป็นศิลปะของอยุธยาเอง ซึ่งที่ต่างจากสมัยสุโขทัยก็คือ มงกุฎของพระพุทธรูปสมัยอยุธยามักทำเป็นครีบยื่นออกมาทั้งสองข้างเหนือพระกร รณ และทรง พระกุณฑล บางองค์มีสังวาลและพาหุรัดทองกรประดับด้วย พระพุทธรูปแบบทรงเครื่องใหญ่ จะทรงเครื่องอย่างเต็มยศ มีทั้งมงกุฎแบบชฎาใหญ่ สังวาลทับทรวง ชายไหว ชายแครง กำไลพระบาท และพระบาทจะสวมฉลองพระบาทเชิงงอน เช่น พระพุทธรูปทรงเครื่องสมัยอยุธยา คือ พระประธานในอุโบสถวัดหน้าพระเมรุ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา มีพระนามว่า พระพุทธนิมิตรวิชิตมารโมลีศรีสรรเพชญบรมไตรโลกนาถ พระพุทธรูปอยุธยาหย่อนความงามนั้นเป็นไปด้วยสาเหตุ ต่อไปนี้ ๑. เนื่องจากมีหลากหลายศิลปะที่นำมาผสมกันไม่ว่าจะเป็น อู่ทอง ลพบุรี สุโขทัย ทำให้บางพระพุทธรูปบางองค์ ขาดความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง เช่น ความอ่อนช้อย บึกบึน ผสมการอย่างไม่สละสลวย ๒. เนื่องจากอยุธยาเป็นยุคที่มีความยาวนานถึง ๔๑๗ ปี ทำให้เกิดการสร้างพระพุทธรูป ขึ้นมามากมาย ทั้งงามและหย่อนความงาม อีกทั้งฝีมือการทำพระพุทธรูปที่ตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ไม่ได้ทำการดัดแปลงรูปแบบ การสร้าง ๓. การมองความงามทางศิลปะของแต่ละบุคคลแตกต่างกันออกไป

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.