หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

ขายแล้ว.........เหรียญโชว์...เหรียญสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.๙) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.

ขายแล้ว.........เหรียญโชว์...เหรียญสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.๙) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม.

ยี่ห้อ :

เหรียญสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.๙) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม. รุ่นแรก

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

40,000.00

บาท

วันที่เริ่ม :

16 มิ.ย. 2553 16:12:39

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:36:36

ip :

58.8.189.2xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

เหรียญสมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี ป.๙) วัดมหาธาตุยุวราชรังสฤษฎิ์ กทม. รุ่นแรก ปี82 เนื้อทองแดงรมดำ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) ชีวประวัติ สมเด็จพระวันรัต มีนามเดิมว่า เฮง หรือ กิมเฮง นามฉายาว่า เขมจารี เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๓ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีมะเส็ง จ.ศ.๑๒๔๓ ตรงกับวันที่ ๓๐ มกราคม พ.ศ.๒๔๒๔ ณ บ้านท่าแร่ ตำบลสะแกกรัง อำเภอเมือง จังหวัดอุทัยธานี บิดาเป็นจีนนอก ชื่อตั้วเก๊าแซ่ฉั่ว เป็นพ่อค้า มารดาชื่อ ทับทิม มีพี่น้องร่วมบิดามารดา ๔ คน คนที่ ๑ เป็นหญิง ตายเสียแต่เป็นเด็กก่อน คนที่ ๒ เป็นชายชื่อกิมฮวด บรรพชาอุปสมบทตลอดมาจนเป็นพระราชาคณะ ที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี คนที่ ๓ คือ สมเด็จพระวันรัต (เฮง เขมจารี) และคนที่ ๔ เป็นหญิงตายพร้อมกับมารดาในเวลาคลอด ยายชื่อ แห จึงอุปถัมภ์เลี้ยงดูสมเด็จฯ ต่อมา ครั้นอายุย่างเข้า ๘ ปี ป้าชื่อ เกศร์ ได้พาท่านไปฝากให้เรียนหนังสือไทยอยู่ในสำนักพระอาจารย์ชัง วัดขวิด จนมีความรู้หนังสือไทยเขียนได้อ่านออก ครั้นอายุย่างเข้า ๑๑ ปี ยายและป้าได้พาไปฝากอยู่ในสำนักพระปลัดใจ (ซึ่งต่อมาเป็นพระราชาคณะที่พระสุนทรมุนี เจ้าคณะจังหวัดอุทัยธานี) เจ้าอาวาสวัดทุ่งแก้ว เมื่อไปอยู่วัดทุ่งแก้ว ก็เริ่มศึกษาภาษาบาลี เริ่มอ่านและเขียนอักษรขอม แล้วหัดอ่านหนังสือพระมาลัยตามประเพณีการศึกษาในสมัยโบราณ แล้วท่องสูตรมูลกัจจายน์และเรียนสนธิกับพระอาจารย์อ่ำ เรียนนามถึงกิตก์กับพระอาจารย์แป้น เรียนอุณณาทและการกกับพระปลัดใจ และเรียนพระธรรมบทและมงคลทีปนีกับพระปลัดใจบ้างกับท่านอาจารย์ม่วงบ้าง กับหลวงธรรมปรีชา (เอก) บ้าง กับพระอาจารย์ฤกษ์บ้าง กับอาจารย์อุ่ม ซึ่งขึ้นไปจากกรุงเทพฯ และไปพักอยู่ที่วัดพิไชยบ้าง เรียนกับพระมหายิ้มวัดมหาธาตุฯ ในกรุงเทพฯ ซึ่งขึ้นไปเยี่ยมพระอาจารย์ม่วงและพักอยู่ที่วัดทุ่งแก้วบ้าง ได้หัดเรียนลูกคิดกับพระภิกษุวันและเรียนเลขกับพระภิกษุอ่อน ครั้นอายุย่างเข้า ๑๒ ปี บรรพชาเป็นสามเณร และได้สึกจากสามเณรเสีย ๒ ครั้ง เพราะต้องเซ่นไหว้บรรพบุรุษ ในเทศกาลตรุษจีนตามธรรมเนียมของจีน เมื่อมีอายุย่างเข้า ๑๓ ปี จึงบรรพชาเป็นสามเณรอีก และเรียนภาษาบาลีอยู่ในวัดทุ่งแก้วตลอดมาเรียนมูลกัจจายน์จบ เรียนพระธรรมบทจบ และเรียนมงคลทีปนี ไปแล้ว ๖ - ๗ ผูก ครั้นอายุย่างเข้า ๑๗ ปี จึงลงมาอยู่วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ เมื่อวันศุกร์ เดือน ๑๑ แรม ๑๒ ค่ำ ปีระกา ตรงกับวันที่ ๒๒ ตุลาคม พ.ศ.๒๔๔๐ และอยู่กับพระมหายิ้ม คณะเลข ๒๓ ซึ่งในเวลานั้นยังไม่มีเลขที่ประจำคณะ แต่เรียกกันว่า คณะต้นจันทร์ เพราะมีต้นจันทร์อยู่หลังกุฏิ ๓ ต้น สมัยนั้นสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรม เป็นเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุฯ และมีพระราชาคณะผู้ช่วย ๒ องค์ คือ พระราชโมลี (จ่าย) และพระอมรเมธาจารย์ (เข้ม) เมื่อแรกมาวัดมหาธาตุฯ สมเด็จฯ ได้เข้าเรียนพระปริยัติธรรมกับพระยาธรรมปรีชา (ทิม) ซึ่งขณะนั้นเป็นหลวงอุดมจินดา เป็นอาจารย์หลวงท่านหนึ่งใน ๔ ท่าน ที่สอนบาลีพระปริยัติธรรมอยู่ ณ ระเบียงพระอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ตอนเหนือ และเรียนกับพระมหายิ้มบ้าง กับพระอมรเมธาจารย์บ้าง ครั้น พ.ศ.๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สอบพระปริยัติธรรมสนามหลวง ณ วัดสุทัศนเทพวราราม และโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) วัดสุทัศนเทพ- วราราม เป็นอธิบดีในการสอบ หลวงอุดมจินดาผู้เป็นอาจารย์สอน จึงสนับสนุนให้สมเด็จฯ เข้าสอบด้วย และ ได้เป็นเปรียญ ๓ ประโยค ในปีนั้น เมื่ออายุย่างเข้า ๑๘ ปี แล้วไปเรียนต่อกับสมเด็จ พระวันรัต (แดง) อยู่พรรษาหนึ่ง และเรียนกับสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) แต่ยังเป็นพระพิมลธรรมด้วย ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๒ มีการประชุมสอบกันที่วัดสุทัศนเทพวราราม โดยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นอธิบดีเช่นเคย แต่เมื่อประชุมสอบไปได้ ๓ วัน สมเด็จพระวันรัต (แดง) เริ่มอาพาธ จึงยุติการสอบไล่ในปีนั้น ในปี พ.ศ.๒๔๔๓ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากร เป็นอธิบดีในการสอบพระปริยัติธรรม และประชุมสอบที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้าสอบได้อีกประโยคหนึ่งในปีนี้ จึงเป็นเปรียญ ๔ ประโยค เมื่ออายุย่างเข้า ๒๐ ปี ครั้นรุ่งขึ้นใน พ.ศ.๒๔๔๔ พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพระอรุณนิภาคุณากรสิ้นพระชนม์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นวชิรญาณวโรรส ทรงเป็นแม่กองกลาง ให้สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (แสง) เป็นแม่กองเหนือ สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เป็นแม่กองใต้ ประชุมสอบ ณ วัด พระศรีรัตนศาสดาราม สมเด็จฯ เข้าสอบประโยค ๕ ได้ แต่สอบประโยค ๖ ตก จึงเป็นเปรียญ ๕ ประโยค เมื่ออายุย่าง ๒๑ ปี ต่อมาเมื่ออายุย่างเข้า ๒๒ โดยปี ได้อุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดมหาธาตุฯ เมื่อ ณ วันจันทร์ เดือน ๗ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีขาล ตรงกับวันที่ ๑๖ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๔๕ โดยสมเด็จพระวันรัต (ฑิต) เป็นพระอุปัชฌายะ และพระธรรมวโรดม (จ่าย) วัดเบญจมบพิตรกับพระเทพเมธี (เข้ม) วัดพระเชตุพนฯ เป็นคู่กรรมวาจาจารย์ และในปีนั้น เข้าสอบพระปริยัติธรรม ได้อีก ๒ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๗ ประโยค ครั้นปีรุ่งขึ้น คือ พ.ศ.๒๔๔๖ ได้เข้าสอบได้อีก ๑ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๘ ประโยค สมเด็จพระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌายะได้ถวายตัวฝากเรียนฎีกาสังคหะ (อภิธมฺมตฺถวิภาวินี) กับพระเจ้าน้องยาเธอกรมหลวงวชิรญาณวโรรสทรงเป็นพระอาจารย์แต่นั้นมา ครั้นรุ่งขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๗ สมเด็จฯ ก็เข้าสอบได้อีก ๑ ประโยค จึงเป็นเปรียญ ๙ ประโยค เมื่ออายุย่างเข้า ๒๔ ปี สมเด็จฯ เป็นนักการศึกษา ตำแหน่งหน้าที่ประจำที่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงและยืดยาวนานของท่าน คือ นายกมหาธาตุวิทยาลัย ซึ่งท่านได้รับช่วงสืบต่อมาจากสมเด็จ พระวันรัต (ฑิต) พระอุปัชฌายะของท่าน และท่านก็สามารถทำนุบำรุง และจัดการศึกษาของสถานศึกษาฝ่ายพระมหานิกายแห่งนี้ให้เจริญก้าวหน้าเป็น อย่างยิ่ง สมดังพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งปรากฏในประกาศพระราชปรารภในการก่อพระฤกษ์สังฆิกเสนาสนราชวิทยาลัย ท้าวความเดิมถึงพระราชปณิธานที่ตรงตั้งมหาธาตุวิทยาลัยไว้ว่า “อีกสถานหนึ่ง เป็นที่เล่าเรียนของคณะสงฆ์ฝ่ายมหานิกาย ได้ตั้งไว้ที่วัดมหาธาตุฯ ได้เปิดการเล่าเรียนมาตั้งแต่วันที่ ๘ พฤศจิกายน รัตน โกสินทรศก ๑๐๘ (พ.ศ.๒๔๓๒) สืบมา” สมเด็จฯ ทุ่มเทชีวิตจิตใจและสติปัญญาลงไปในการจัดการศึกษาของมหาธาตุวิทยาลัยอย่าง จริงจัง นอกจากจัดการศึกษาโดยตรงแล้ว เพื่อสนับสนุนการศึกษาให้มั่นคงถาวรยิ่งขึ้น สมเด็จฯ ได้ขวนขวายจัดตั้งมูลนิธิบำรุงการศึกษาพระปริยัติธรรมของมหาธาตุวิทยาลัย ขึ้น เมื่อ พ.ศ.๒๔๖๘ เรียกชื่อตามตราสารตั้งมูลนิธิว่า “นิธิ โรงเรียนบาลีมหาธาตุวิทยาลัย” มีคณะกรรมการทั้งฝ่ายบรรพชิตและฝ่ายคฤหัสถ์ร่วมจัดการ และมีระเบียบดำเนินการอย่างรัดกุมเป็นอย่างดียิ่ง สำนักงานของมูลนิธิ ตั้งอยู่ที่สำนักงานพระคลังข้างที่ในพระบรมราชวัง การจัดตั้งมูลนิธิของสมเด็จฯ ทำให้มหาธาตุวิทยาลัยสมัยนั้นมีฐานะมั่นคงเข้มแข็ง และสามารถขยายการศึกษาได้กว้างขวางยิ่งขึ้น ในการศึกษาพระปริยัติธรรม แม้เมื่อสมเด็จฯ บำเพ็ญกุศลในคราวมีอายุครบ ๕ รอบ หรือ ๖๐ ปีบริบูรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๘๕ ยังได้สร้างหนังสือแปลบาลีแบบสนามหลวง ตั้งแต่ประโยค ๓ ถึงประโยค ๙ ซึ่งสมเด็จฯ แปลขึ้นเพื่อใช้เป็นตัวอย่าง แจกจ่ายไปตามสำนักเรียนต่าง ๆ ทั้งในกรุงและหัวเมือง ตลอดถึงนักเรียนผู้ต้องการทั้งในสำนักวัดมหาธาตุฯ และต่างสำนัก ท่านอาพาธด้วยโรคหลอดลมอักเสบเรื้อรังกับขั้วปอดโตขึ้น มีอาการไอกำเริบ มรณภาพวันที่ ๑๐ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๘๖ ณ หอเย็นคณะเลข ๑ วัดมหาธาตุฯ อายุได้ ๖๓ ปี พรรษาได้ ๔๒ พรรษา

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.