หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

พระโชว์......พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปี45

พระโชว์......พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปี45

ยี่ห้อ :

พระโชว์......พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปี45

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

9,999.00

บาท

วันที่เริ่ม :

12 ก.ย. 2553 18:24:23

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:37:17

ip :

125.24.136.2xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

พระโชว์......พระนางพญาเสน่ห์จันทร์ วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระเบื้องหลังคาโบสถ์ ปี45 ประวัติโบสถ์วัดตระพังทอง โดย นายประโชติ สังขนุกิจ อดีตผู้อำนวยการสำนักโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ กรมศิลปากร โบสถ์วัดตระพังทอง ตั้งอยู่บนเกาะกลางตระพังทอง หนึ่งในสี่สระ หรือตระพังน้ำขนาดใหญ่ ของเมืองสุโขทัย คือตระพังเงิน ตระพังสระศรี (ตระพังตระกวน) ตระพังสอ และตระพังทอง ซึ่งเป็นแหล่งเก็บน้ำสำคัญ โดยได้รับน้ำจากน้ำฝนและแหล่งเก็บน้ำ เขื่อนสรีดภงส์ ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้(หรดี)ของตัวเมือง กลางตระพังมีลักษณะเป็นเนินคันหรือเกาะขนาดย่อย มีอาคารพุทธศาสนสถานตั้งอยู่ทั้งสี่แห่ง ที่เกาะกลางตระพังเงินเป็นโบสถ์กลางตระพัง ที่ตระพังสระศรีมีเจดีย์วิหารและโบสถ์ ที่เกาะตระพังสอมีศาลาโถง ด้านหน้าศาลาเป็นเจดีย์ ขนาดเล็ก ๑ องค์ ด้านหลังเป็นเจดีย์ขนาดใกล้เคียงกัน ๓ องค์ ส่วนที่เกาะกลางตระพังทอง มีเจดีย์ วิหาร และโบสถ์ โบสถ์วัดตระพังทอง ก่ออิฐ ฉาบปูนตำ ค่อนข้างหยาบ ขนาด กว้าง ๗.๔๐ เมตร ยาว ๑๖.๐๐ เมตร สูงจากพื้นจนสุดผนัง ๕.๖๐ เมตร โครงสร้างหลังคาสูง ๕.๔๐ เมตร รวมความสูงจากพื้นถึงหลังคา ๑๑.๐๐ เมตร ลักษณะผนังก่ออิฐเรียงแผ่นหนา ๐.๗๐ เมตร ด้านหน้าเป็นมุขโถง ยาว ๓.๐๐ เมตร บริเวณมุขทั้งด้านทิศเหนือ –ใต้ ทำบันไดขึ้นสู่ตัวโบสถ์ ซึ่งมีประตูอยู่ทางทิศตะวันตก เป็นประตูไม้สักลูกฟัก ๒ บาน รวม ๒ ช่อง ด้านทิศเหนือ – ใต้ มีหน้าต่างด้านละ ๒ ช่อง บานหน้าต่างลูกฟักไม้สัก ช่องละ ๒ บาน พื้นเป็นไม้ไผ่ขัดแตะเทคอนกรีตหยาบ ด้านหลังเป็นพระประธาน ขนาดหน้าตักกว้าง ๑.๙๐ เมตร ตั้งอยู่บนฐานชุกชีสูง ๑.๐๐ เมตร เรียกกันว่า หลวงพ่อขาว ลักษณะพระพุทธรูป องค์นี้เป็นพระปูนปั้นปางมารวิชัยทำเลียนแบบสมัยสุโขทัย คงสร้างขึ้นภายหลัง โครงสร้างหลังคาเป็นทรงจั่ว ลด ๒ ชั้น ตั้งอยู่บนผนังทั้ง ๒ ด้าน ไม่มีเสารับ เว้นมุขหน้ามีเสา ๔ เสา ปลายสุดครอบหลังคาทำเป็นรูปมกร ปูนปั้น หน้าปันเป็นไม้สัก แผ่นตีเรียบแนวตั้ง มุงกระเบื้องดินเผาปลายแหลม กำแพงแก้วก่ออิฐฉาบปูน ขนาดสูง ๑.๑๐ เมตร หนา ๐.๔๕ เมตร มีทางเข้า ๕ ช่อง คือ ทางทิศเหนือ- ใต้ ด้านละ ๒ ช่อง และด้านหน้า ๑ ช่อง ตรงกลางเข้าด้านหน้า และด้านทิศเหนือ – ใต้ ดานละ ๑ ช่อง ทำเป็นซุ้มประตูรวม ๓ ซุ้ม มีใบเสมาปักไว้รายรอบโบสถ์ทุกทิศด้านทิศเหนือ – ใต้ ด้านละ ๓ จุด ส่วนทิศตะวันออก – ตก ด้านละ ๑ จุด เป็นเสมาคู่ เป็นที่น่าสังเกตว่าใบเสมาที่วางคู่กันอยู่นั้นมีขนาดไม่เท่ากัน คือใบด้านนอกมีขนาดใหญ่และสูงกว่าใบด้านใน พื้นรอบในกำแพงแก้ว เทคอนกรีตหยาบ ตามความเชื่อดั้งเดิมของชาวเมืองเก่าสุโขทัย บางกลุ่มเชื่อว่าโบสถ์หลังนี้ สร้างโดยอีเมลิ้นดำ และไม่มีใครทราบว่า บุคคลผู้นี้เป็นใคร มาจากที่ใด บางกลุ่มเชื่อว่าพระปลัดบุญธรรม อดีตเจ้าอาวาสวัดรูปหนึ่งสร้างขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ และหลายคนเชื่อว่า คงจะสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยโน่นแล้ว โบสถ์หลังนี้สร้างอยู่ในแนวเดียว และติดอยู่กับโบราณสถานเจดีย์ประธานของวัด มองเห็นแล้วก็น่าจะเป็นโบราณสถานสิ่งก่อสร้างที่สร้างมาพร้อมกัน แต่มีนักปราชญ์ผู้รู้ ที่พูดถึงสถานที่แห่งนี้หลายท่านหลายวาระ เช่น สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยา นริศรานุวัตติวงศ์ ทรงเล่าไว้ว่าในพระนิพนธ์ เรื่อง “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก” ๑ ว่าเวลาบ่าย ๔ โมง ๔๕ ออกไปดูตระพังทอง ซึ่งอยู่ข้างที่พัก ตระพังเป็นภาษาเขมร เห็นจะแปลว่าสระ ตระพังทองเป็นสระกว้างประมาณ ๔ เส้นครึ่ง สี่เหลี่ยม กลางมีเกาะกว้าง ๒ เส้น สี่เหลี่ยม ในเกาะมีวัดเรียกว่า วัดตระพังทอง มีเจดีย์ลังกาสูงประมาณ ๑๒ วา อยู่กลาง ข้างด้านหน้าตะวันขึ้น มีวิหาร ข้างด้านหลังตะวันตกมีโบสถ์ ข้างข้างทั้งด้านเหนือและใต้ มีพระเจดีย์เล็ก ๆ เรียงเป็นแถวทั้ง ๒ ด้าน อย่างที่เขียนไว้ในแผนที่สุโขทัย หน้า ๘๑ นั้น สิ่งทั้งปวงเหล่านั้นล้วนแต่ชำรุดพังเคทั้งนั้น แต่โบสถ์ได้มุงหลังคาแฝกไว้ ท่านพระยาจางวาง๒ ท่านจัดการ เพราะวัดนี้ท่านเป็นที่พักรักษาอุโบสถของท่าน มีกระท่อมน้อย ปลูกลงในตระพังข้างหลังเกาะหลังหนึ่งเป็นที่ท่านอยู่จำศีล และท่านได้ชักชวนพระมาอยู่ ปลูกกุฎีแฝกไว้ข้างเกาะ ด้านเหนือหลังหนึ่ง ให้พระอยู่ แต่ไม่ใคร่สำเร็จ เพราะพระที่มาอยู่ทนจู๋ไม่ไหว อยู่หน่อยแล้วก็ไป จะหาว่าหากินไม่ได้ก็ไม่เชิง เพราะบ้านคนในเมืองเก่านี้ก็มี................แต่เมื่อเวลาไปคราวนี้ พระมีอยู่ ท้องตระพังมีน้ำเฉาะแฉะ มีหญ้าและอ้ายรกๆ ต่าง ๆขึ้น น้ำใช้ไม่ได้ .........” ๑สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้เสด็จไปเมืองพิษณุโลกเพื่อตรวจแก้หุ่นพระพุทธชินราช ถ่ายแบบฐานชุกชี และซุ้มเรือนแก้ว เพื่อนำไปสร้างรองรับพระพุทธชินราชที่ วัดเบญจมบพิตร รวมทั้งเตรียมรับเสด็จ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะเสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปหล่อพระพุทธชินราชจำลอง ณ จังหวัดพิษณุโลกในเดือน ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๔๔ เมื่อเสด็จพระราชธุระที่เมืองพิษณุโลกแล้ว สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ได้เสด็จต่อไปยังเมืองอุตรดิตถ์ ศรีสัชนาลัย สวรรคโลก และสุโขทัยตามลำดับ ตลอดระยะทางนี้ ทรงบันทึกจดหมายเหตุรายวันไว้ และเมื่อเสด็จถึงเมืองสุโขทัยเก่า ก็ทรงบันทึกสิ่งที่ทรงพบเห็น ร วมทั้งวัดตระพังทองดังกล่าว ๒พระยาจางวาง ท่านผู้นี้คือ พระยารณไชยชาญยุทธ (ครุธ หงสนันทน์) จางรางกำกับราชการเมืองสุโขทัย จางวางเป็นตำแหน่งยศข้าราชการชั้นสูงในกรมมหาดเล็ก ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับการหรือหัวหน้าข้ารับใช้ของเจ้านาย ชั้นบรมวงศ์หรือทรงกรม ตำแหน่งนี้ส่วนหนึ่งในสมัยรัชกาลที่ ๕ คือกำกับราชการเมืองต่างๆ ภายหลังจากที่รัชกาลที่ ๕ ได้ปฏิรูปการปกครองประเทศ โดยแบ่งเป็นมณฑล เทศาภิบาล มีผู้บัญชาการหรือข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลเป็นผู้กำกับดูแล เจ้าเมืองหรือข้าหลวง ซึ่งเคยรับราชการมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการต่างพระเนตรพระกรรณก่อนหน้านั้น ก็ต้องขึ้นตรงกับข้าหลวงเทศาภิบาลในมณฑลนั้นๆ บทบาทของเจ้าเมืองซึ่งเคยมีอำนาจสูงก่อนนั้นก็ลดน้อยลง ตำแหน่งของเจ้าเมืองเหล่านี้ คือตำแหน่งจางวาง ผู้กำกับราชการเมืองต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร พระยารณไชยชาญยุทธ เดิมชื่อ ครุธ เกิดเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๗๑ ที่บ้านธานี เมืองสุโขทัย เป็นบุตรนายเรืองและนางพลับบิดามีตำแหน่งเป็นพระยกกระบัตร ได้เข้ารับราชการตั้งแต่วัยหนุ่ม เมื่ออายุ ๒๑ ปี ได้ดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในราชการหลายวาระ เช่น ปลัดเมืองสวรรคโลก เมื่อมียศเป็นพระกำแหงสงคราม ปลัดเมืองสุโขทัยมียศเป็นพระกำแพงพราหมณ์ ต่อมาได้รับพระราชทานเลื่อนยศเป็น พระยาศรีธรรมศุภราชชาติ บดินทร์สุรินทร์ ฤาชัยอภัยพิริยพาหุ ผู้สำเร็จราชการเมืองสุโขทัย และยังเคยเป็นข้าหลวงรับราชการเ มืองหลวงพระบาง ข้าหลวงรักษาราชการเมืองพิชัย เป็นผู้รักษาราชการมณฑลแทนข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลพิษณุโลก ทุกครั้งที่ข้าหลวงเทศาภิบาลไปราชการ ณ ที่อื่น และสุดท้ายทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนยศเป็นที่พระยารณชัยชาญยุทธ วรุตมราชภักดี สุโขทัยบุรีธรารักษ์ ประเสริฐศักดิ์ สุนทราศรัย อภัยพิริยพาหุ จางวางกำกับราชการเมืองสุโขทัย (-+ผู้เรียบเรียง) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงตำแหน่งเป็น มกุฎราชกุมาร ได้เสด็จฯ เมืองเก่าสุโขทัย เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ แล้วได้พระราชนิพนธ์เรื่อง “เที่ยวเมืองพระร่วง” ทรงกล่าวถึงวัดตระพังทองว่า “ .....พอออกจากที่พักเข้าประตูเมือง ด้านตะวันออกไปได้หน่อยถึงหมู่บ้านในเมือง (ซึ่งมีอยู่ ๓ หมู่บ้านด้วยกัน) บ้านนั้นตั้งอยู่ใกล้ตระพังทอง เป็นสระน้ำใหญ่อันหนึ่งในเมืองนี้ .....ที่ตระพังทองนั้นมีวัด เรียกว่า วัดตระพังทอง มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ กลางตระพังมีเกาะ บนเกาะนั้นมีพระเจดีย์ใหญ่อยู่กลางองค์หนึ่ง มีพระเจดีย์บริวารอีก ๘ องค์ พระเจดีย์ใหญ่ยังเป็นรูปร่างอยู่ คือเป็นรูประฆัง ข้างล่างเป็นแลงข้างบนเป็นอิฐ พระเจดีย์บริวารนั้นชำรุดเสียโดยมากแล้ว ดูท่าทางบางทีจะเป็นวัดไม่สู้สำคัญนัก และน่าจะไม่สู้เก่านักด้วย ที่เกาะนี้พระยารณชัย ชาญยุทธ (ครุธ) ๓เจ้าเมืองสุโขทัยเก่า ซึ่งได้ออกบรรพชาเป็นสามเณรอยู่นั้น ได้สร้างกุฏิอาศัยอยู่ และเวลาที่ได้ไปดูวัดนั้นก็ได้เห็นโบสถ์ ซึ่งสามเณรรณชัย ได้จัดการเรี่ยรายและกำกังสร้างขึ้น...” ๓พระยารณชัย ชาญยุทธ (ครุธ) เป็นคนคนเดียวกับพระยาจางวางที่สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงกล่าวถึง ในพระราชนิพนธ์ เรื่อง “จดหมายระยะทางไปพิษณุโลก” (ผู้เรียบเรียง) สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ครั้งเสด็จออกตรวจการคณะสงฆ์มณฑลฝ่ายเหนือ และเมื่อวันที่ ๙ ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เสด็จถึงวัดตระพังทอง ดังพระราชนิพนธ์ของพระองค์ตอนหนึ่งว่า “.....วันที่ ๙ ธันวาคม เวลาก่อนเสวยเช้า เสดจเที่ยวทอดพระเนตรภูมิลำเนาในตำบลนั้นเป็นการเงียบ เสด็จถึงวัดตระพังทอง อันตั้งอยู่ริมทางซึ่งเสดจผ่านมาเมื่อวานนี้ ฯ ในร่วมกำแพงเมืองเก่านี้ มีวัดซึ่งมีพระสงฆ์อยู่แต่วัดเดียวเท่านั้น ทราบว่ามีพระสงฆ์อยู่ ๕ รูป เปนที่ทำบุญแห่งชาวบ้านตำบลนี้แท้ๆ เสดจไปถึงเข้าทรงพบพระรูปหนึ่งชื่อ เบี้ยว ตรัสไต่ถามทรงทราบว่า เธอเป็นพระอธิการแห่งวัดนั้นแต่มีพรรษาเดียว จึงทรงดำหริว่าในตำบลอันมีวัดมีพระสงฆ์แต่วัดเดียว แลเปนที่ทำบุญของราษฎรในตำบลนั้น แต่ไม่มีพระผู้มีพรรษาสมควรจะปกครอง เช่น วัดตระพังทองนี้เปนตัวอย่าง ควรให้กำนันและราษฎรตำบลนั้นรักษาไว้ เพราะเปนแต่ผู้อาศัยสำหรับทำบุญแห่งชาวบ้าน ข้อนี้เทียบได้ในครั้งพุทธกาล เช่น เชตวันวิหาร ถึงคราวพระสงฆ์อยู่ก็อยู่ไป ถึงคราวพระสงฆ์จาริกไปไหนๆ เสีย พวกทายกเปนผู้รักษาฯ เสด็จทอดพระเนตรสถานที่ในวัดนั้นตามสมควรแล้ว เสด็จกลับพลับพลา มีพวกราษฎรมาคอยตักบาตรหน้าพลับพลา ทรงรับบิณฑบาตแล้ว เสด็จขึ้นประทับ ณ มุขพลับพลา” นายตรี อมาตยกุล ๔ เล่าไว้ในหนังสือ “นำเที่ยวเมืองสุโขทัย” ซึ่งเขียนเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๙๖ ว่า “. ....เมื่อผ่านกำแพงเมืองเข้าไปสักหน่อย ทานจะแลเห็นสระใหญ่ อยู่ริมถนนทางซ้ายมือ สระนี้เรียกกันว่า “ตระพังทอง” น้ำในสระสะอาดและจืดสนิทราษฎรในเมืองสุโขทัยเก่า ได้อาศัยใช้น้ำในสระนี้สำหรับบริโภค ได้ตลอดทั้งปี ในบริเวณวัดตระพังทองเป็นที่ตั้งของวัดโบราณวัดหนึ่ง ซึ่งเรียกตามนามของตระพังว่า “วัดตระพังทอง” วัดนี้เป็นวัดเดียวในเมืองสุโขทัยที่ยังไม่ร้าง คือในปัจจุบันยังมีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ แต่สิ่งสำคัญภายในวัดได้ปรักหักพังลงไปมากแล้ว ยังมีของฝีมือช่างสมัยสุโขทัยเหลืออยู่ สองสามชิ้นเท่านั้น...... วัดนี้ยังมีพระอุโบสถ ๒ หลัง พระอุโบสถเก่าอยู่ทางทิศตะวันออกของหมู่กุฏิสงฆ์ มีพระประธานรูปปั้นเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ได้ซ่อมกันเสียหลายครั้งหลายคราว แต่ยังพอสังเกตรูปทรงได้ว่าของเดิมเป็นฝีมือช่างสมัยสุโขทัย ส่วนพระอุโบสถใหม่นั้นอยู่ทางทิศตะวันตกพระอุโบสถหลังนี้สร้างขึ้นเมื่อประมาณ ๔๐ ปีมานี้เอง คือพระยารณชัย ชาญยุทธ (ครุฑ) เจ้าเมืองสุโขทัย เมื่อครั้งออกบวชเป็นสามเณรและจำพรรษาอยู่วัดนี้ โดยเรี่ยรายเงินจากราษฎรสร้างขึ้นเมื่อราว พ.ศ. ๒๔๕๐........” ๔นายตรี อมาตยกุล อดีตหัวหน้ากองวรรณคดีและประวัติศาสตร์ กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เ ป็นผู้ค้นคว้าและเรียบเรียงประวัติศาสตร์สุโขทัยทั้งเป็นบทความและหนังสือหลายเรื่อง นับเป็นผู้ริเริ่มบุกเบิกและเผยแพร่ประวัติศาสตร์สุโขทัยที่ควรยกย่องท่านหนึ่งทีเดียว เป็นที่น่าเสียดายว่า โบสถ์เก่าๆที่คุณตรี อมาตยกุล พูดถึงนั้น ปัจจุบันไม่มีร่องรอยให้เห็นแล้ว แต่ยังมีคนแก่ชาวเมืองเก่าหลายคน ยังคงจำโบราณสถานแห่งนี้กันได้ ว่าเป็นซากโบราณสถานขนาดเล็ก มีพระพุทธรูปประธานปูนปั้น บริเวณโดยรอบเป็นสระน้ำ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก บริเวณมุมทิศเหนือของโรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดตระพังทองในปัจจุบัน โบราณสถานแห่งนี้ถูกไถกลบไปตั้งแต่ก่อนปี พ.ศ. ๒๕๐๘ เพราะมีมีการสำรวจ โบราณสถานบริเวณนี้ในปีนั้น เนินดินหรือซากโบราณสถานหรือโบสถ์เก่าที่คุณตรีกล่าวถึง ไม่มีเสียแล้ว นายมะลิ โคกสันเที๊ยะ ๕ เล่าในหนังสือ “ นำชมโบราณวัตถุสถาน ในจังหวัดสุโขทัย” ว่า “ ......วัดนี้ถึงแม้ว่าจะไม่มีโบราณสถานอะไรน่าดูนัก นอกจากเจดีย์ทรงกลมแบบลังกาองค์ขนาดย่อม ตั้งอยู่กลางสระน้ำสี่เหลี่ยมที่มีน้ำขังเต็มเปี่ยม ดังเช่น วัดตระพังเงิน สิ่งที่ท่านจะผ่านไปเสียมิได้ก็คือ รอยพระพุทธบาท อยู่ในมณฑปที่อยู่กับเจดีย์กลางเกาะ รอยพระพุทธบาทนี้เป็นศิลาสีเทาปนดำ ซึ่งพระเจ้าลิไทโปรดให้สร้างประดิษฐานไว้บนสุวรรณกุฎ หรือเขาพระบาทใหญ่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๑๙๐๓ ภายหลัง พระราชประสิทธิคุณ ๖ ได้นำมาประดิษฐานไว้ภายในมณฑปนี้หลายปีมาแล้ว ต่อมามณฑปนี้ชำรุด หน่วยศิลปากรที่ ๓ จึงได้บูรณะขึ้นใหม่ ตามรูปที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน วัดนี้มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่เป็นประจำ มีงานนักขัตฤกษ์ไหว้ พระพุทธบาท และลอยกระทงในวันเพ็ญเดือน ๑๒ เป็นเทศกาลประจำปี ส่วนพระอุโบสถอยู่ด้านทิศตะวันตกเป็นของสร้างขึ้นใหม่ ประมาณ ๓๐ ปี.......” ๕ นายมะลิ โคกสันเที๊ยะ อดีตหัวหน้าหน่วยศิลปากรที่ ๓ สุโขทัย กองโบราณคดี กรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการ เป็นเจ้าหน้าที่กรมศิลปากร ชุดแรก ๆ ที่ทำการบุกเบิกสำรวจ ขุดค้น ขุดแต่ง และบูรณะโบราณสถาน เมืองสุโขทัย ศรีสัชนาลัย และกำแพงเพชร มีหลายผลงานโดดเด่นเกินตำแหน่งเจ้าหน้าที่ ๖ พระราชประสิทธิคุณ (ทิม ยสทินฺโน) อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย และเจ้าอาวาสวัดราชธานี ได้ช่วยเหลือราชการ โดยออกสำรวจโบราณสถานเก็บรวบรวมโบราณวัตถุ ช่วยดูแลปกป้องการลักลอบขุดค้น ทำลายโบราณสถาน รวมทั้งการบูรณะซ่อมแซมโบราณสถานเบื้องต้นหลายแห่งในเมืองสุโขทัย และศรีสัชนาลัย นับเป็นพระเถระผู้มีพระคุณูปการอันยิ่งใหญ่ต่อการอนุรักษ์โบราณวัตถุสถานในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรมอันสำคัญของโลก พระราชประสิทธิคุณถึงแก่มรณภาพ เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๓ สิริรวมอายุได้ ๘๙ ปี (-ผู้เรียบเรียง) จากพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และข้อเขียนของท่านผู้รู้อื่น ตามที่ยกมาอ้างอิงนั้น ทรงเชื่อและต่างมีความเห็นว่า โบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นทีหลัง ไม่เก่าถึงสมัยสุโขทัย ส่วนพระราชนิพนธ์ สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ ไม่ทรงชี้ลงไปว่า เป็นของสร้างใหม่หรือของเก่า เพียงแต่ทรงเล่าว่าข้างหลังเจดีย์ด้านทิศตะวันตกเป็นโบสถ์นั้นมุงหลังคาแฝกไว้ และว่าท่านพระยาจางวางท่านจัดการ ส่วนเมืองอีเมลิ้นดำนั้น เป็นเรื่องมุขปาฐะ เป็นนิทานพื้นบ้านที่เล่ากันมานาน แพร่หลายอยู่ในเขตอำเภอบ้านด่านลานหอย เป็นเรื่องเล่าถึงการสู้รบระหว่างกองกำลังเมืองตากกับเมืองสุโขทัยแต่อดีตนมนาน โดยกองทัพทั้งสองฝ่ายประจันหน้ากัน ที่บ้านวังหิน ฝ่ายเมืองตากได้ให้ธิดา ชื่ออีเม (เนื่องจากนางมีลิ้นสีดำจึงเรียกกันว่าอีเมลิ้นดำ) ปลอมตัวเป็นผู้ชายขี่ช้างออกรบ ขณะทำการรบหมวกของอีเมหลุดจากศีรษะ ทำให้ฝ่ายสุโขทัยรู้ว่าคนที่ตนต่อสู้อยู่นั้นเป็นผู้หญิง จึงร้องถามไปว่า “เอ็งเป็นผู้หญิงใช่ไหม?” อีเมเมื่อรู้ว่าฝ่ายข้าศึกรู้ว่าตนเป็นผู้หญิงจึงเสียใจขับช้างเข้าป่าไป เมื่อลงจากหลังช้างแล้ว จึงตัดลิ้นตนเองขว้างลงในหนองน้ำ ปัจจุบันหนองนี้เรียกกันว่า หนองลิ้นกา เพราะมีลิ้นสีดำอยู่ จากนั้นอีเมก็ได้ตัดนมทั้งสองข้างออกทิ้ง จึงเรียกบริเวณนั้นว่า เขานมนาง เมื่อนางสิ้นใจลง ทหารได้ฝังศพนางไว้สถานที่ตรงนั้น ปัจจุบันเรียกว่า หลุมอีเม ยังมีอะไรอื่นที่เกี่ยวกับอีเมลิ้นดำอีกหลายเรื่อง ที่เกิดขึ้นในท้องที่บ้านด่านลานหอย และมีอิทธิพลซึมซับสืบต่อมาจนถึงเมืองสุโขทัย คือเรื่องการสร้างโบสถ์วัดตระพังทอง มุขปาฐะอีเมลิ้นดำ จะเป็นเรื่องของคนในประวัติศาสตร์ แล้วถูกเสริมต่อกันมาในรูปของนิทาน หรือเป็นนิทานล้วน ๆ ที่ไม่เกี่ยวกับข้อเท็จจริง ทางประวัติศาสตร์เลยก็ตาม แต่คนเมืองเก่ากลุ่มหนึ่งก็ได้รับการบอกเล่ากันมาเช่นนี้ และเชื่อว่าผู้สร้างโบสถ์วัดตระพังทอง คือ อีเมลิ้นดำ หญิงผู้เก่งกล้าเด็ดเดี่ยวผู้นี้เอง ข้อความของนักปราชญ์ผู้รู้ร่วมสมัย รวมทั้งนิทานพื้นบ้านใกล้เคียง ดังที่ยกมากล่าวไว้ค่อนข้างยืดยาว ก็เพื่อแสดงหลักฐานให้มองเห็นถึงความเป็นมาของโบสถ์หลังนี้ ตามสภาพที่ท่านเหล่านั้นทรงเห็นและได้เห็น อยู่ในขณะนั้นๆ ซึ่งเป็นหลักฐานที่ดีที่สุดที่ทำให้เรารู้จักโบสถ์หลังนี้เท่าที่มีอยู่ในขณะนี้ ยังมีหลักฐานประจักษ์พยานที่ทางวัดได้จากการบูรณะซ่อมแครั้งนี้อีกหลายประการ ซึ่งเป็นลักษณะการก่อสร้าง ที่มีขั้นตอนและวิธีการที่น่าศึกษาสนใจเป็นอย่างมาก คือ หลังจากวางผังบริเวณแล้วการก่อสร้างมีขั้นตอนดังนี้ คือ ขุดลอกดินบริเวณพื้นที่ตัวอาคารทั้งหมดออกลึก ๑.๖๐ เมตร มีอิฐเรียง ๓ ชั้น บนพื้นที่ที่ขุดลอกได้ ถมพื้นใหม่ด้วยดินโคลนสีดำอัดแน่น หนา ๑.๑๐ เมตร โรยทับด้วยปูนขาว หนา ๑ เซนติเมตร ปูอิฐทับปูนขาว ๓ ชั้น เหมือนชั้นล่างสุด ตามเกลี่ยด้วยดินเดิมที่ขุดลอกทิ้งไว้ ก่อผนัง ประตู หน้าต่าง และส่วนประกอบอื่นของอาคาร มุงหลังคาแฝก โดยมีผนังทั้ง ๒ ด้าน เป็นตัวรับโครงหลังคา ลักษณะการก่อสร้างโดยวิธีนี้ เป็นลักษณะพิเศษไม่นิยมทำกันในสมัยสุโขทัย เมื่อทำการก่อสร้างอาคารที่ทำด้วย อิฐ หิน หรือศิลาแลง ช่างจะขุดดินบริเวณที่สร้างแล้วบดอัดด้วยดินลูกรัง ทำหน้าที่คล้ายเสาเข็มแล้วจึงสร้างตัวอาคาร โดยลักษณะการก่อสร้าง คตินิยมและสิ่งแวดล้อมอื่นอีกบางประการเป็นต้นว่า ตัวอาคารโบสถ์หันหน้าไปทางทิศตะวันตก รับน้ำหนักโครงสร้างหลังคาด้วยผนังทั้ง ๒ ด้าน มีบานหน้าต่างสำหรับเปิดปิด ลักษณะรูปแบบสถาปัตยกรรมอย่างนี้ไม่ปรากฏในสมัยสุโขทัย มีโบสถ์ที่สร้างในสมัยสุโขทัยเป็นจำนวนมาก ไม่พบว่าหลังใดที่หันหน้า หรือพระพุทธรูปประธานในโบสถ์หันพระพักตร์ไปทางทิศตะวันตก การรับน้ำหนักโครงสร้างหลังคามีเสารับ เสามีทั้งสี่เหลี่ยม แปดเหลี่ยม และเสากลม ทำจากวัสดุสำคัญ ๓ ชนิด คือ ไม้ อิฐ และศิลาแลง ส่วนบานหน้าต่างนั้นในสมัยสุโขทัยนิยมเจาะผนังเป็นช่องลมรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีขนาดเล็กพอไม่ให้คนลอดเข้าไปข้างในได้ ด้วยข้อมูลทั้งหมดที่นำมากล่าวแล้ว ก็น่าจะเป็นที่ยุติได้ว่าโบสถ์หลังนี้สร้างขึ้นทีหลังสมัยสุโขทัย แต่จะสร้างขึ้นโดยพระยารณชัยชาญยุทธ อดีตจางวางกำกับราชการเมืองสุโขทัย เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๓๗-๒๔๔๔ ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๓ ได้มีผู้มีจิตศรัทธาผู้หนึ่งชื่อแม่ล้วน ๗ หรือคุณนายล้วน ได้ทำการบูรณะ ก่อเสริม ทำโครงหลังคาใหม่เพราะแต่เดิมโบสถ์หลังนี้หลังคามุงแฝกไม่ถาวร ชำรุดแหว่งโหว่ไม่สะดวกในการใช้สอย เมื่อมีงานบวชหรือทำสังฆกรรมอื่นใด เจ้าของงานต้องทำหลังคาชั่วคราวเอาเองโดยใช้ใบมะพร้าว แฝก และวัสดุอื่น ๆ มุง พอคุ้มแดดกันฝนไปคราวๆ หนึ่ง เมื่อพระราชประสิทธิคุณ ได้เข้ามาดูแลบำรุงวัดนี้ แม่ล้วนซึ่งเป็นผู้เลื่อมใสในพระราชสิทธิคุณ ๗ แม่ล้วนหรือคุณนายล้วน เป็นเศรษฐีนีม่าย ไม่มีใครทราบว่าเป็นคนมาจากที่ใด แต่ได้มาตั้งหลักแหล่งค้าขายอยู่ที่สุโขทัย โดยมีเรือนแพอาศัยอยู่ในแม่น้ำยม ตรงหน้าวัดราชธานี นางเป็นผู้เคารพเลื่อมใสในพระราชสิทธิคุณ(พระครูทิม) เมื่อพระราชสิทธิคุณมาดูแลปรับปรุงวัดตระพังทอง นางจึงตามมาช่วยเหลือและเป็นผู้ออกเงินค่าใช้จ่ายในการก่อเสริมโบสถ์ จนแล้วเสร็จ ภายหลังเมื่อบูรณะโบสถ์แล้ว นางมีเรื่องไม่ลงรอยขัดใจกับพระราชสิทธิคุณ เจ้าอาวาสวัดจึงไล่ไม่ให้นางจอดเรือนแพที่หน้าวัด แพแม่ล้วนจึงขยับล่องไปอยู่ล่างสะพานพระร่วงเล็กน้อย จึงได้เข้ามาช่วยเหลือในการฟื้นฟูวัด โดยการซ่อมแซมก่อเสริมผนังโบสถ์ เพื่อทำหลังคาถาวร มุงกระเบื้อง และก่อเสริมมุมหน้า ให้ดูสง่างามโอ่โถงขึ้น เนื้องานที่แม่ล้วนได้ทำเพิ่มเติม ยังคงมีร่องรอยให้เห็นคืองานก่อผนัง เสริมจากของเดิมสูงขึ้นไปอีกประมาณ ๑.๐๐ เมตร เพราะหลังคาจั่วต้องมีใบดั้งสูง จึงจะมีความสง่างามและภายในโปร่งไม่ทึบ รวมทั้งงานก่อเสริมเสามุขหน้า ๒ คู่ สี่ต้นสูงขึ้นอีกต้นละ ๑.๐๐ เมตร เมื่อกรมศิลปากร ได้ทำการบูรณะโบราณสถานวัดนี้ ในปี พ.ศ. ๒๕๐๙-๒๕๑๐ โบสถ์หลังนี้ได้รับการซ่อมแซม ปรับปรุง บริเวณภายในตัวอาคารบางส่วน แต่เป็นงานนอกแผนแต่เพียงเล็กน้อย ไม่มีรายละเอียดในการดำเนินการ จึงไม่ทราบว่าได้ทำอะไรตรงจุดใดบ้าง ส่วนการซ่อมแซมในครั้งนี้มีรายละเอียดและขั้นตอนการดำเนินงานปรากฏในภาค ผนวกของหนังสือเล่มนี้แล้ว นี่คือประวัติความเป็นมาของโบสถ์วัดตระพังทอง เท่าที่เรารู้จักกันในปัจจุบันนี้ และแม้โบสถ์หลังนี้ จะไม่ใช่สิ่งก่อสร้างมาตั้งแต่สมัยสุโขทัย ซึ่งถือว่าเป็นโบราณสถาน แต่อาคารหลังนี้ก็ถือว่าเป็นโบราณสถานโดยอายุ เพราะก่อสร้างมานานเกินกว่า ๑๐๐ ปีแล้ว นับเป็นอาคารร่วมสมัยที่เก่าที่สุดของชาวเมืองเก่าสุโขทัย การมีโอกาสได้ซ่อมแซมบูรณะอีกครั้งหนึ่ง จึงถือเป็นการสืบสานศิลปะท้องถิ่นที่มีคุณค่ายิ่ง

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.