หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

พระโชว์.....พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร รุ่นยกฉัตรพระบรมธาตุ ปี2533

พระโชว์.....พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร รุ่นยกฉัตรพระบรมธาตุ ปี2533

ยี่ห้อ :

พระโชว์.....พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร รุ่นยกฉัตรพระบรมธาตุ ปี2533

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

99,999.00

บาท

วันที่เริ่ม :

12 ก.ย. 2553 18:57:07

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:37:29

ip :

125.24.136.2xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

พระโชว์.....พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก วัดพระบรมธาตุ นครชุม กำแพงเพชร รุ่นยกฉัตรพระบรมธาตุ ปี2533 พระบรมธาตุนครชุมมหาเจดีย์ทรงสูงใหญ่ สวยงามไปด้วยสถาปัตยกรรมและสีทองอร่ามทั้งองค์ เสมือนดั่งเจดีย์ ชเวดากองในเมืองพม่า เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ จำนวน 9 องค์ เมื่อได้เข้าไปนมัสการและบูชาแล้ว ดังได้พบกับพระพุทธเจ้าด้วยตนเอง เป็นพระบรมธาตุเจดีย์ที่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่สมัยเป็นเมืองนครชุมกินเวลายาวนานมากกว่า 600 ปี และยังคงยั่งยืนสืบต่อกันมาเป็นองค์มหาเจดีย์แห่งศรัทธา จวบจนปัจจุบัน วัดพระบรมธาตุนครชุมเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เป็นวัดเก่าแก่อยู่คู่เมืองกำแพงเพชรมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ภายในมีศาสนสถานที่สำคัญหลายอย่าง เช่น พระบรมธาตุเจดีย์ภายในบรรจุพระสารีริกธาตุ 9 องค์,ต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ที่พระยาลิไททรงปลูกไว้,พระอุโบสถหลังเก่า,พระวิหาร,วิหารพระนอน,ศาลาเรือนไทย นอกจากนี้ยังมีศาลาการเปรียญที่ใช้เป็นศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชน เพื่อให้เป็นแหล่งความรู้แก่ชุมชน อีกด้วย พระบรมธาตุนครชุมเป็นวัดที่สร้างขึ้นมาพร้อมกับเมืองนครชุมเป็นวัดประจำเมืองเหมือนกับวัดพระแก้วประจำเมืองกำแพงเพชรและวัดพระบรมธาตุ จากจารึกนครชุมเดิมภายในวัดมีเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัว)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน สันนิษฐานว่าสร้างโดยกษัตริย์ในสมัยกรุงสุโขทัย คือพระมหาธรรมราชาลิไทหรือพระยาลิไท สร้างขึ้นในปี 1900 เพื่ออุทิศถวาย พ่อขุนศรีอินทราทิตย์องค์หนึ่ง พ่อขุนรามคำแหงองค์หนึ่ง และพระเจดีย์ประจำรัชกาลองค์อีก 1 องค์ และได้นำพระบรมสารีริกธาตุ 9 องค์ สถาปนาไว้ในพระเจดีย์องค์กลาง และพระองค์ได้เสด็จมาพระมหาธาตุเจดีย์เป็นประจำทุกปี ซึ่งในสมัยสุโขทัยนั้นวัดพระบรมธาตุนครชุมมีความเจริญ มากเพราะเป็นวัดพระอารามหลวงประจำเมือง วัดพระบรมธาตุเจริญรุ่งเรืองมากกว่า 200 ปี จนกระทั่งเมืองนครชุมถึงภาวะล่มสลายตามกฎแห่งอนิจจัง เพราะแม่น้ำปิงกัดเซาะแนวกำแพงเมืองนครชุมพังพินาศความเจริญทางพุทธจักรและอาณาจักรได้สูญสิ้นไปจากเมืองนครชุม เมืองฝั่งตรงข้ามทางทิศตะวันออก คือ เมืองกำแพงเพชร ได้เจริญรุ่งเรืองขึ้นมาแทนที่ วัดพระบรมธาตุร้างมากว่า 300 ปี จนกระทั่งถึงต้นกรุงรัตนโกสินทร์วัดพระบรมธาตุมีหลักฐานที่ชัดเจนอีกครั้ง จากหนังสือพระราชนิพนธ์เสด็จประพาสต้นครั้งที่ 2 เมื่อเดือนสิงหาคม 2449 ณ เมืองกำแพงเพชร ความว่า...ในพ.ศ.2329 สมเด็จพุฒาจารย์ (โต) แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม ได้เสด็จมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร พักที่วัดเสด็จได้อ่านจารึกนครชุมที่ประดิษฐาน ณ อุโบสถวัดเสด็จ ตำบลเมือง อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ได้ทราบว่ามีเจดีย์โบราณบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ อยู่ริมน้ำปิง ฝั่งตะวันตกตรงข้ามเมืองเก่าสามองค์ ซึ่งได้ให้เจ้าเมืองกำแพงเพชรพระยารามณรงค์สงคราม (น้อย) ได้ป่าวร้อง ให้ประชาชนแผ้วถางพบเจดีย์ตามจารึกและปฏิสังขรณ์ขึ้นในปี พ.ศ.2414 (ซงพอ หรือพระยาตะก่า) พ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีให้ศรัทธาจะบูรณะปฏิสังขรณ์ พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม พระยากำแพงเพชร เจ้าเมืองได้ทำหนังสือขออนุญาตลงมาที่กรุงเทพฯ ทางกรุงเทพฯจึงตอบอนุโมทนาและอนุญาตให้ซ่อมแซมได้ สิ่งสำคัญที่สุดภายในวัดก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ เดิมนั้นเป็นเจดีย์ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์(ทรงดอกบัว)สามองค์ตั้งอยู่บนฐานเดียวกัน ในปี พ.ศ 2414 แซพอ(แซภอ หรือพระยาตะก่า) และพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงมีใจศรัทธาจะบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์วัดพระบรมธาตุนครชุม โดยสร้างครอบฐานเดิม ต่อมา พ.ศ.2418 แซภอถึงแก่กรรม การปฏิสังขรณ์ชะงักไป จนถึง พ.ศ.2447-2448 พะโป้จึงรวบรวมทุนทรัพย์ เริ่มปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่จนสำเร็จและยกยอดฉัตรขึ้นประดิษฐานในเดือน 6 พ.ศ.2449 ก่อนที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจะเสด็จประพาสต้นเมืองกำแพง เพียง 3 เดือน ปัจจุบันพระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์ทรงไทยประยุกต์มอญ เนื่องจากการบูรณะครั้งใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นพระยาตะก่า และพะโป้คหบดีพ่อค้าไม้ชาวกะเหรี่ยงได้สร้างพระเจดีย์ทรงมอญครอบไว้บนฐานเดิม เนื่องจากใช้ช่างชาวกะเหรี่ยง ลักษณะองค์จึงออกไปทางศิลปะพม่า พระเจดีย์จึงมีรูปอย่างที่เห็นในปัจจุบัน และได้บูรณะใหม่อีกครั้ง ในปี 2533 โดยทำเป็นสีทองทั้งองค์ มีซุ้มจรทั้งสี่ทิศประดิษฐานพระพุทธรูปประจำซุ้ม ตั้งอยู่บนฐานสูงประมาณ 1 เมตร มีกำแพงล้อมรอบ เป็นองค์เจดีย์ขนาดใหญ่ที่มีความสวยงามอีกแห่งหนึ่งของเมืองไทย และเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์อย่างยิ่ง เพราะภายในบรรจุพระบรมสาริกธาตุ 9 องค์ ซึ่งเป็นที่เคารพศรัทธาของประชาชนมาเป็นเวลาช้านาน บริเวณด้านหน้าพระบรมธาตุ ทำเป็นศาลาเล็ก ๆเพื่อใช้เป็นจุดบูชาพระบรมธาตุ และมีบริการดอกไม้ธูปเทียน มีองค์พระธาตุจำลองสำหรับให้ปิดทองและมีพระพุทธรูปอีกหลายองค์ให้เราได้กราบไหว้บูชา ภายในวัดนอกจากที่พระบรมธาตุเจดีย์แล้วภายในวัดมีสิ่งสำคัญอีกอย่างคือ ต้นศรีมหาโพธิ์ ซึ่งเป็นต้นโพธิ์ที่สมเด็จพระมหาธรรมราชาลิไท ได้ทรงปลูกไว้เมื่อ 1900 ปัจจุบันเป็นต้นศรีมหาโพธิ์ขนาดใหญ่ ขนาด 10 คนโอบ ต้นโพธิ์ในพุทธศาสนา นั้นถือเป็นสถานที่อันเป็นมงคลเพราะเป็นสถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ จึงมีความเชื่อว่า ถ้าผู้ใดได้เข้าไปไหว้บูชาต้นศรีมหาโพธิ์เสมือนกับได้บูชาพระพุทธเจ้าเช่นเดียวกัน วัดพระบรมธาตุนอกจากจะมีสถานที่สำคัญหลายอย่างแล้ว ภายในวัดก็มีแหล่งความรู้ที่สำคัญคือศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุม โดยจัดแสดงเป็นอาคารทรงไทยสวยงาม ทำด้วยไม้สักทองทั้งหลัง ภายในจัดแสดงวัตถุโบราณและข้าวของเครื่องใช้ในอดีตมากมาย และแสดงเรื่องราวทางประวัติศาสตร์อีกหลายอย่าง แสดงวิถีชีวิตของชาวเมือง เป็นศูนย์รวบรวมวัตถุโบราณและเรื่องราวต่าง ๆของเมืองนครชุมเอาไว้มากมาย เพื่อให้เป็นแหล่งการเรียนรู้และถ่ายทอดถูมิปัญญาท้องถิ่น ทั้งทางด้านศาสนา ศิลปวัฒนธรรม ประเพณี วิถีชีวิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาคุณภาพชีวิต แก่ชุมชนและสังคม ในยุคปัจจุบันเพื่อให้ยั่งยืนสืบไป นอกเราจะได้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์แล้ว เรายังสามารถใช้เป็นแหล่งความรู้และเรียนรู้ได้อีกด้วย ภายในวัดกว้างขวางสะอาดจัดระเบียบอาคารได้อย่างดี เป็นวัดพัฒนาตัวอย่างอีกวัดหนึ่งครับ วัดพระบรมธาตุนครชุม นอกจากมีพระบรมธาตุศักดิ์สิทธิ์ให้เราได้กราบไหว้บูชาแล้ว ยังตั้งอยู่ในตัวเมืองกำแพงเพชร ใกล้กับสิ่งอำนวยความสะดวกอย่างครบครัน และใกล้กับสถานที่ท่องเที่ยวอีกหลายแห่ง อาทิเช่น อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชรมีวัดมากกว่า 30 วัด , วัดวังพระธาตุเมืองไตรตึงษ์,ศาลหลักเมือง,วัดปราสาท เราสามรถเดินทางท่องเที่ยวแบบรวดเดียวจบ และหลังจากเที่ยวจนเต็มอิ่มแล้ว ก็อย่าลืมแวะไปกินเฉาก๊วยชากังราวของดีแสนอร่อยกันนะครับ วัดพระบรมธาตุ พระอารามหลวง ตั้งอยู่ที่ เลขที่ 15 หมู่ที่ 3 ตำบลนครชุม อำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร เปิดให้เข้านมัสการพระบรมธาตุเจดีย์ทุกวันตั้งแต่เช้าจนเย็นและ ศูนย์วัฒนธรรมไทยสายใยชุมชนตำบลนครชุมเปิดให้เข้าชม ตั้งแต่เวลา 8.30-16.30 น. และเพื่อสืบทอดประเพณีบูชาพระบรมธาตุ ทางจังหวัดจะจัดงานประเพณี พบพระเล่นเพลง ซึ่งเป็นประเพณีไหว้พระบรมธาตุ ที่มีมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน โดยงานจะจัดขึ้นทุกปี ในวันเพ็ญเดือน 3 ตั้งแต่วันขึ้น 15 ค่ำ โดยงานจะจัด 5วัน 5 คืน ซึ่งในทุก ๆปี มีประชาชนเข้ามาร่วมในงานเป็นจำนวนมาก พระประวัติพระเครื่องเมืองกำแพง ยอดพระเครื่องอันดับหนึ่ง ของจังหวัดกำแพงเพชร และจังหวัดใกล้เคียงจัดอยู่ในชุด 'เบญจภาคี'ที่มีค่าในทางโภคทรัพย์ยิ่งนัก ตำนานการสร้าง พระกำแพงทุ่งเศรษฐีนั้น กำเนิดที่พระบรมธาตุนครชุม เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมื่อปี พ,ศ,๒๔๔๙ ดังมีใจความดังต่อไปนี้ 'เมื่อกินข้าวแล้ว ล่องเรือมาขึ้นที่วัดพระธาตุ วังเดิมเป็นพระเจดีย์เช่นเดียวกับที่วัดพระธาตุใหญ่ ๑ ย่อม ๒ องค์ พญาตะก่ารวมสร้าง ๓ องค์รวมเป็นองค์เดียวกัน แปลงรูปเป็นพระเจดีย์มอญ แต่ยังไม่แล้วเสร็จพญาตะก่าตายพะโป๊ะจึงได้มาปฏิสังขรณ์ ต่อมาได้ยกฉัตรยอดวังทำแต่มพะละแหม่งเพิ่งแล้ว แต่ฐานชุกชียังไม่ถือปูนไม่รอบพระเจดีย์องค์นี้ทาสีเหลือง มีลายสีเหลือง แลดูในน้ำงามดี มีพระครูอยู่ในวัดเป็นเจ้าคณะรองรูปหนึ่ง พระครูเจ้าคณะแขวงอำเภอ พรานกระต่ายอีกพวกหนึ่ง เป็นสองพวกออกจะลงรอยกัน มีโรงเรียนอยู่ในหมู่กุฏิมีราษฏรมาหาเป็นอันมาก 'พระเจดีย์ทั้ง ๓ องค์นี้ นายชิด มหาดเล็ก หลานพระยาประธานคโรทัย วึ่งเป็นนายอำเภออยู่ในมลฑลนครชัยศรี ลาป่วยออกมารักษาตัว ไปได้ตำนาน และพระพิมพ์มาให้ ยังมีกษัตริย์พระองค์หนึ่ง ทรงพระนามว่า พระยาศรีธรรมโศกราช ทรงดำริที่จะบำรุงพระพุทธศาสนา จึงไปเชิญพระธาตุจากลังกา และสร้างเจดีย์บรรจุไว้ที่แควแม่น้ำปิงและแม่น้ำยมเป้นจำนวน ๘.๔๐๐๐ พระเจดีย์พระฤาษีจึงได้สร้างพระพิมพ์ขึ้นถวายพระญาศรีธรรมโศกราชเป็นอุปการะ จึงได้บรรจุพระธาตุ และพระพิมพ์ไว้ในพระเจดีย์ตั้งแต่นั้นมา เหตุที่พบพระพิมพ์กำแพงเพชรขึ้นนี้ เมื่อปีระกาเอกศก จุลศักราช ๑๒๑๑ สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆังฯ ขึ้นมาเยี่ยมญาติในเมืองกำแพงเพชร ได้อ่านแผ่นศิลาจารึกไทยโบราณที่มีอยู่ในวัดเสด็จ ได้ความว่า มีพระเจดีย์โบราณบรรจูพระบรมธาตุ อยู่บนบริเวณแม่น้ำปิง ฝั่งตะวันตก ตรงหน้าเมืองข้าม จึงได้ค้นขว้ากันขึ้นตามพพระเจดีย์ ๓ องค์ ชำรุด ทั้ง ๓ องค์ พญาตะก่า ขอสร้างรวมเป็นองค์เดียว จึงได้ลื้อพระเจดีย์ จึงได้พบพระพิมพ์และวิธีบูชา นายชิดได้กล่าวสรุปถึงพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรเมื่อทูลเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีความว่า 'วันที่ ๒๒ สิงหาคม รัตนโกสินทร์ศก ๑๒๕ ข้าพระพุทธเจ้า นายชิด มหาดเล็กวรเดช หลานพระยาประธานนคโรไทยจางวางเมืองอุทัยธานี เดิมได้รับราชการในกระทรวงมหาดไทยเป็นตำแหน่งนายอำเภอ อยู่มลฑลนครชัยศรีข้าพระพุทะเจ้าป่วยเจ็บทุพพลภาพ จึงกราบถวายบังคมลาออกจากหน้าที่ราชการ ขึ้นมารักษาตัวอยู่บ้านภรรยาที่เมืองกำแพงเพชร ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบเสาะหาพระพิมพ์ของโบราณซึ่งมีผุ้ขุดค้นได้ ในเมืองกำแพงเพชรนี้ได้ไว้หลายอย่าง พร้อมพิมพ์แบบทำพระหนึ่งแบบขอพระราชทานทูลเกล้าฯ ถวาย ข้าพระพุทธเจ้าได้สืบถามผู้เม่าผู้แก่ ถึงตำนานพระพิมพ์เหล่านี้ อันเป็นที่เชื่อถือกันในแขวงเมืองกำแพงเพชรสืบมาก่อนได้ความว่าพระพิมพ์เมืองกำแพงเพชรนี้ มีมหาชนเป็นอันมากนิยมนับถือฤาชามาช้านานแล้ว มีคุณานิสงฆ์แก่ผุ้สักการบูชาในปัจจุบัน หรือมีอนุภาพทำให้สำเร็จสมความปรารถนาแห่งผู้มีไว้สักการบูชาด้วยอเนกประการ' สัณฐานของพระพุทธนี้ตามที่ได้มีผู้พบเห็นมีดังนี้ ๑. พระลีลา (ที่ว่าพระเดินอย่างหนึ่ง ๒. พระยืนอย่างหนึ่ง ๓ พระนั่งสมาธิอย่างหนึ่ง วัตถุที่ทำเป็นองค์พระต่างกันเป็น ๔ อย่าง คือ ๑. ดีบุก (หรือตะกั่ว) ๒. ว่าน อย่างหนึ่ง ๓. เกษรอย่างหนึ่ง ๔. ดินอย่างหนึ่ง ประวัติ พระซุ้มกอ (พระกำแพงซุ้มกอ) จ.กำแพงเพชร พระกำแพงซุ้มกอ จัดเป็นพระที่สุดยอด และเอกของเมืองกำแพงเพชร เป็นพระที่อมตะ ทั้งพุทธศิลป์ และพุทธคุณถูกจัดอยู่ในชุดเบญจภาคีที่สูงสุดของพระเครื่องเมืองไทย พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระที่ทำจากเนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ และทำจากเนื้อชิน ก็มีพุทธลักษณะของพระซุ้มกอนั้นองค์พระประติมากรรม ในสมัยสุโขทัย นั่งสมาธิลายกนกอยู่ด้านข้างขององค์พระนั่งประทับอยู่บนบัวเล็บช้าง ขอบของพิมพ์พระจะโค้งมนลักษณะคล้ายตัว ก.ไก่ คนเก่า ๆ จึงเรียกว่า “พระซุ้มกอ” พระกำแพงซุ้มกอ ที่ค้นพบมีด้วยกัน 5 พิมพ์ ประกอบด้วย พิมพ์ใหญ่ แยกออกเป็น 2 ประเภท คือ มีลายกนกและไม่มีลายกนก พระที่ไม่มีลายกนกส่วนใหญ่มักจะมีสีดำ หรือสีน้ำตาลแก่ซึ่งเรามักจะเรียกว่า “พระกำแพงซุ้มกอดำ” พิมพ์กลาง พิมพ์เล็ก พิมพ์เล็กพัดโบก พิมพ์ขนมเปี๊ย พระกำแพงซุ้มกอ ทั้งมีลายกนกและไม่มีลายกนกเป็นพระที่มีศิลปะของสุโขทัยปนกับศิลปะศรีลังกา โดยเฉพาะไม่มีลายกนกจะเห็นว่าเป็นศิลปะศรีลังกาอย่างเด่นชัด พระกำแพงซุ้มกอ เนื้อขององค์พระ ใช้ดินผสมกับว่านเกสรดอกไม้ จึงทำให้เนื้อของพระซุ้มกอมีลักษณะนุ่มมัน ละเอียดเมื่อนำสาลีหรือผ้ามาเช็ดถูจะเกิดลักษณะมันวาวขึ้นทันที ลักษณะของเนื้อที่เด่นชัดอีกประการหนึ่ง คือตามผิวขององค์พระจะมีจุดสีแดง ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ว่านดอกมะขาม” และตามซอกขององค์พระจะมีจุดดำ ๆ ซึ่งเราเรียกว่า “ราดำจับอยู่ตามบริเวณซอกของพระ” พระกำแพงซุ้มกอ นั้นนอกจากเนื้อดินยังพบเนื้อชินและชนิดที่เป็นเนื้อว่านล้วน ๆ ก็มีแต่น้อยมาก พระกำแพงซุ้มกอ ที่ขุดค้นพบนั้นจะปรากฏอยู่ตามบริเวณวัดบรมธาตุ วัดพิกุล วัดฤาษีและตลอดบริเวณลานทุ่งเศรษฐี พระกำแพงซุ้มกอ ที่ไม่มีลายกนกที่มีสีน้ำตาลนั้นจัดเป็นพระที่หาได้ยากมาก เพราะส่วนใหญ่จะมีสีดำ พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระพุทธคุณนั้นไม่ต้องพูดถึง เพราะพระกำแพงซุ้มกอ มีครบเครื่องไม่ว่าเรื่อง เมตตา มหานิยม แคล้วคลาด ตลอดจนเรื่องโชคลาภ จนมีคำพูดที่พูดติดปากกันมาแต่โบราณกาลว่า “มีกูแล้วไม่จน” ประกอบกับพระกำแพงซุ้มกอ ถูกจัดอยู่หนึ่งในห้าของชุดเบญจภาคี ความต้องการของนักนิยมพระเครื่องจึงมีความต้องการสูงเพราะทุกคนต้องการแต่พระกำแพงซุ้มกอทั้งนั้น ราคาเช่าหาจึงแพงมาก และหาได้ยากมากด้วย พระกำแพงซุ้มกอ ไม่ว่าจะเป็นพิมพ์ไหนก็ตามหรือจะเป็นเนื้อดินเนื้อว่าน ตลอดจนเนื้อชิน พุทธคุณเหมือนกันหมด แล้วแต่ว่าท่านจะหาพิมพ์ไหนมาได้ พระกำแพงซุ้มกอ จึงจัดว่าอยู่ในพระอมตะพระกรุอันทรงคุณค่าที่ควรค่าแก่การหา และนำมาเพื่อเป็นศิริมงคล เป็นอย่างมากทีเดียว ประวัติความเป็นมาของพระซุ้มกอ พระเครื่องสกุลกำแพงเพชร มีตำนานปรากฏชัดเจนจากการพบจารึกบนแผ่นลานเงินในกรุขณะรื้อพระเจดีย์องค์ใหญ่ของวัดพระบรมธาตุ เมืองนครชุม และเมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต พรหมรังสี แห่งวัดระฆังฯ ซึ่งขึ้นมาเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ก็ได้อ่านศิลาจารึกอักษรไทยโบราณ ที่วัดเสด็จ ฝั่งเมืองกำแพงเพชรมีอยู่ในจารึกได้กล่าวถึงพิธีการสร้างพระ อุปเท่ห์การอาราธนาพระ รวมถึงพุทธานุภาพอย่างมหัศจรรย์ ของพระเครื่องสกุลกำแพงเพชรทั้งหลาย นอกจากนี้ในพระราชนิพนธ์ เรื่องเสด็จประพาสกำแพงเพชร ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ซึ่งเขียนในปี พ.ศ. 2449 ก็ได้กล่าวถึงจารึกบนแผ่นลานทอง อันมีข้อความเกี่ยวกับการขุดพบพระต่างๆ ตามกรุต่างๆ หลักฐานชิ้นสำคัญ อันเกี่ยวกับเมืองกำแพงเพชร ได้แก่ศิลาจารึกนครชุม ที่กล่าวถึงการสร้างเมือง โดยพระมหาธรรมราชาลิไท ในราวปี พ.ศ.1279 จากหลักฐานการศึกษา เทียบเคียงทั้งหลายมีข้อสันนิษฐาน ที่เชื่อถือได้โดยสรุปว่า พระซุ้มกอสร้างโดยพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งดำรงพระยศผู้ครองเมืองชากังราว ในฐานะเมืองหน้าด่านสำคัญของอาณาจักรสุโขทัย ก่อนที่จะได้ทรงรับสถาปนาเป็นกษัตริย์องค์ที่ 5 แห่งราชวงศ์สุโขทัย ดังนั้นอายุการสร้างของพระซุ้มกอจนถึงปัจจุบัน จึงมีประมาณ 700-800 ปี พระซุ้มกอที่ได้รับความนิยมมีทั้งหมด 4 พิมพ์คือ พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่มีกนก พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ไม่มีกนก พระซุ้มกอ พิมพ์กลาง พระซุ้มกอ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ เนื้อของพระกำแพงซุ้มกอมีดังนี้ เนื้อดินผสมว่านและเกสรดอกไม้ เป็นเนื้อที่ได้รับความนิยมสูงสุด เนื้อว่าน แบ่งเป็นเนื้อว่านล้วน ๆ และเนื้อว่านหน้าทองคำ เนื้อว่านหน้าเงิน เนื้อชินเงิน เนื้อว่านและเนื้อชินเงิน ปัจจุบันหาพบยาก พิมพ์ใหญ่มีลายกนก เป็นพิมพ์ที่พบเห็นแพร่หลาย เป็นพระปางสมาธิ บนฐานบัว มีซุ้มลายกนกรอบองค์พระ เป็นพระดินเผา ผสมว่านและเกสรดอกไม้ ตามผิวจะมีจุดแดง ๆ เรียกว่า แร่ดอกมะขาม ซึ่งเป็นวัตถุธาตุตะกูลเหล็กไหล จุดดำเรียกรารัก จับกระจายเป็นหย่อม ๆ พิมพ์ใหญ่ไมมีลายกนก คือพระซุ้มกอดำ เป็นเนื้อที่หายากมาก ราคาแพง พบที่กรุวัดบรมธาตุ, วัดพิกลุล, และกรุนาตาคำ พิมพ์กลาง มีลักษณะใกล้เคียงกับพิมพ์ใหญ่ลายกนก เพียงแต่บางและตื้นกว่า หายากครับ พิมพ์ขนมเปี๊ยะ ความจริงก็เป็นพิมพ์ต่าง ๆ นั่นเอง เพียงแต่ไม่ได้ตัดขอบมนออก จึงดูคล้ายขนมเปี๊ยะ ส่วนพิมพ์อื่น ๆ ไม่ขอพูดถึง เพราะหาชมได้ยากมาก การค้นพบพระกำแพงซุ้มกอ เมื่อ พ.ศ.2392 สมเด็จพระพุฒาจารย์โต วัดระฆัง ได้ไปเยี่ยมญาติที่เมืองกำแพงเพชร ได้พบศิลาจากรึกที่วัดเสด็จ จึงทราบว่ามีพระเจดีย์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปิง ฝั่งเมืองนครชุมเก่า ท่านจึงชักชวนเจ้าเมืองออกสรวจ ก็พบเจดีย์ 3 องค์ อยู่ใกล้ ๆ กัน แต่ชำรุดมาก จึงได้ชักชวนเจ้าเมืองทำการรื้อพระเจดียเก่าทั้ง 3 องค์ รวมเป็นองค์เดียวกัน เมื่อรื้อถอนจึงพบพระเครื่องซุ้มกอจำนวมาก หลวงปู่จึงนำเข้ากรุงเทพ ฯ ส่วนหน่งพร้อมเศษอิฐหิน และบรรทึกใบลาน แล้วนำมาสร้างพระสมเด็จของท่านจนขึ้นชื่อลือกระฉ่อน เพราะสร้างตามสูตรการสร้างพระซุ้มกอ ส่วนการสร้างเจด์ยังไม่ทันแล้วเสร็จ เจ้าเมืองก็ด่วนลาลับ ต่อมาพระยาตะก่า ขุนนางพม่า จึงปฏิสังขรณ์ต่อ จนเสร็จ จึงมีรูปลักษ์เป็นเจดีย์พม่า พระกำแพงซุ้มกอ เป็นพระศิลปะสุโขทัยยุคต้น สร้างประมาณ พ.ศ.1900 สมัยพญาลิไท ขุดค้นพบหลายกรุ โดยครั้งแรกพบ ณ วัดพระบรมธาตุ โดยหลวงปู่โต ต่อมา พ.ศ.2490, และ 2501 ก็พบอีก แต่ไม่มาก ปี 2505 และ 2509 พบจากกรุวัดพิกุลทอง, วัดฤาษี วัดหนองลังกา และวัดซุ้มกอ พระซุ้มกอ พิมพ์มีกนก ขุดค้นพบบริเวณฝั่งตะวันตกของลำแม่น้ำปิง จังหวัดกำแพงเพชร เป็นบริเวณทุ่งกว้างที่มีชื่อว่า ' ลานทุ่งเศรษฐี ' หรือโบราณเรียกว่า ' เมืองนครชุมเก่า ' บริเวณลานทุ่งเศรษฐีอันกว้างใหญ่นี้ ปรากฎซากโบราณสถานอยู่มากมาย เป็นชื่อวัดนับสิบกว่าวัดด้วยกัน พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก ขุดพบที่กรุวัดมหาธาตุ กรุวัดพิกุล หรือหนองพิกุล กรุฤาษี กรุตาพุ่ม กรุนาตาคำ กรุลานดอกไม้ กรุวัดหนองลังกา และเจดีย์กลางทุ่ง ส่วนพระนามของพระซุ้มกอนั้น เป็นเอกลักษณ์ของซุ้มประภามณฑล ที่ครอบเศยรองค์พระ เป็นซุ้มโค้งงอเหมือน ก ไก่ เลยเรียกติดปากมาตั้งแต่โบราณว่า ' พระซุ้มกอ ' พระกำแพงซุ้มกอ สันนิษฐานว่า จะสร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาลิไท แห่งสุโขทัย พระพุทธศิลปะขององค์พระจะสง่างาม มีความล้ำสัน นั่งขัดสมาธิราบอยู่บนบัลลังก์บัวเล็บช้าง ภายใต้ซุ้มเรือนกนก พระซุ้มกอ พิมพ์ใหญ่ พิมพ์มีกนก เป็นพระที่ขุดพบมีจำนวนค่อนข้างน้อย เนื้อดินเผา เป็นพระที่มีเอกลักษณ์เฉพาะ ไม่เหมือนพระเครื่องดินเผาทั่วไป เป็นพระดินเผาที่มีเนื้อค่อนข้างนิ่ม ละเอียด ไม่มีเม็ดกรวดเจือปน เนื้อขององค์พระจะดูค่อนข้างจะเปื่อยและยุ่ยง่าย เหมือนพระดินดิบ คือเหมือนพระที่ไม่ผ่านการเผามา มีว่านดอกมะขามสีแดงปรากฎให้เห็นทั่วองค์พระ ตำหนิเอกลักษณ์ การสังเกตุพระซุ้มกอ พระเกศเป็นเกศปลี ปลายแหลมสอบเข้า พระเนตรรี ลอยอยู่ในเบ้า พระนาสิกเป็นแท่งแหลม พระโอษฐ์เล็ก พระกรรณโค้งเป็นแบบหูบายศรีเบาๆ ยอดองค์ใต้คอเป็นแอ่งกระทะเบาๆ กนกข้างแขนขวาองค์พระเป็นเลข 6 ฝรั่ง สังฆาฏิเป็นลำเล็ก ซอกแขนลึก ชายจีวรยาวเข้าไปซอกแขน พระหัตถ์ขวากระดกขึ้นเล็กน้อย

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.