หมวดหมู่สินค้า

พระเครื่อง

พระโชว์......พระกริ่งหลวงพ่อขาว วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระไหล่ทอง ปี2548

พระโชว์......พระกริ่งหลวงพ่อขาว วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระไหล่ทอง ปี2548

ยี่ห้อ :

พระโชว์......พระกริ่งหลวงพ่อขาว วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระไหล่ทอง ปี2548

สภาพสินค้า :

สินค้ามือสอง

ราคา :

9,999.00

บาท

วันที่เริ่ม :

12 ก.ย. 2553 18:30:21

วันที่อัพเดท :

15 ก.ย. 2553 17:37:17

ip :

125.24.136.2xx

ปิดการขายสินค้า

ข้อมูลร้าน

ชื่อผู้ขาย :

-

จังหวัด :

-

จำนวนสินค้า :

0 ชิ้น

คนเข้าชม :

-

อัพเดทร้าน :

-

เปิดร้าน :

-

shop free

รายละเอียดสินค้า

พระโชว์......พระกริ่งหลวงพ่อขาว วัดตระพังทอง สุโขทัย เนื้อกระไหล่ทอง ปี2548 วัดตระพังทอง สังกัดตำบลคณะสงฆ์ ตำบลบ้านกล้วย ชื่อที่ชาวบ้านเรียก วัดตระพังทอง ชื่อเดิม วัดตระพังทอง ตั้งอยู่บ้านเลขที่ ๑๖๔/๒ ถนนจรดวิถีถ่อง หมู่ที่ ๓ บ้านเมืองเก่า ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โทรศัพท์หมายเลข ๐ ๕๕๖๙ ๗๑๓๓ ,๐ ๕๕๖๙ ๗๑๓๔ สังกัดคณะสงฆ์ มหานิกายได้ตั้งวัดเมื่อ ปี พ.ศ.๑๘๒๖ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ปี พ.ศ.๑๘๓๐ ที่ดินเฉพาะบริเวณที่ตั้งวัด มีเนื้อที่ ๔๔ ไร่ ส.ค.๑ เลขที่ ๗๒๘ ลักษณะพื้นที่ตั้งวัด และบริเวณโดยรอบ วัดตระพังทอง ตั้งอยู่ในเขตโบราณสถานตำบลเมืองเก่า มีหมู่บ้านล้อมรอบ และอยู่หน้าอุทยาน-ประวัติศาสตร์สุโขทัยห่างจากตัวอำเภอเมืองประมาณ ๙ กิโลเมตร การสัญจรไปมาสะดวกเพราะมีถนนจรดวิถีถ่องผ่านหน้าวัด พื้นที่ตั้งวัดอยู่ในเขตชุมชนและภายในวัดยังมีสระน้ำขนาดใหญ่ประมาณ ๒๐ ไร่อยู่หน้าวัด กลางสระน้ำเป็นเกาะ เนื้อที่ประมาณ ๓ ไร่ ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานรอยพระพุทธบาท เจดีย์ และอุโบสถ อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มี อุโบสถ กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕ เมตร สร้างเมื่อ พ.ศ.๑๘๒๖ เป็นอาคาร ก่ออิฐถือปูน เครื่องบนทำด้วยไม้ หลังคามุงกระเบื้องดินเผา แบบสมัยโบราณ ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๕๓ เมตรสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๙ เป็นอาคาร อาคารเดิมครึ่งตึก ครึ่งไม้ และได้มีการต่อเติมภายหลังเป็นอาคารไม้ หลังคามุงกระเบื้อง หอสวดมนต์กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๒๔ เมตรสร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๕๒๖ เป็นอาคาร ครึ่งตึก ครึ่งไม้ หลังคามุงสังกะสี กุฏิสงฆ์ จำนวน ๗ หลัง เป็นอาคารไม้ ๓ หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ ๓ หลัง และตึก ๑ หลัง ศาลาบำเพ็ญกุศล จำนวน ๑ หลัง สร้างด้วยคอนกรีต ๑ หลัง ปูชนียวัตถุและโบราณวัตถุ ของวัด อุโบสถ เป็นอุโบสถที่สร้างด้วยการก่ออิฐถือปูนแบบสมัยโบราณ เครื่องบนทำด้วยไม้หลังคามุงกระเบื้องดินเผา ช่อฟ้าใบระกาทำเป็น มกรสังคโลก หน้าบันทำด้วยไม้เป็นแบบลูกฟักทั้งสองด้าน ฝ้าเพดานทำด้วยไม้ มีประตูทำด้วยไม้สองประตูด้านทิศตะวันตก หน้าต่างทำด้วยไม้สี่หน้าต่าง ผนังฉาบปูนตำแบบสมัยโบราณ ใบเสมาสองชั้น ทำด้วยหินชนวน ตัวอาคาร กว้าง ๙ เมตร ยาว ๑๕ เมตร รอบตัวอาคารทำเป็นกำแพงแก้วปูนปั้น มีประตูทางเข้า ๕ ด้าน คือ ทิศตะวันตกหนึ่งด้าน( ด้านหน้า ) ทิศเหนือสองด้าน( ข้าง ) ทิศใต้สองด้าน( ข้าง ) ตามประวัติได้สร้างมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีประมาณปี พ.ศ. ๑๘๒๖ และได้ทำการบูรณะเป็นลำดับมาเท่าที่ทราบคือ ประมาณปี พ.ศ. ๒๔๕๐ โดยพระยารณชัยชาญยุทธ (ครุฑ) เป็นอุโบสถที่ตั้งอยู่บนเกาะกลางสระน้ำ และด้านหน้าตัวอาคารอยู่ทางทิศตะวันตก พระพุทธรูป พระประธานในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปะสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๗๙ นิ้ว สูงจากฐานองค์พระถึงพระขนง ๗๒ นิ้ว ฐานชุกชีทำเป็นสามชั้น ชั้นแรกทำเป็นฐานกลีบบัว ส่วนสองชั้นล่างทำเป็นแบบเรียบง่าย ฐานบน กว้าง ๗๙ นิ้ว ยาว ๑๐๑ นิ้ว ฐานล่าง กว้าง ๑๐๖ นิ้ว ยาว ๑๕๙ นิ้ว ตามประวัติได้ทำการบูรณะใหม่บางส่วน ประมาณ ปี พ.ศ. ๒๔๕๐ ครั้งบูรณะอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นแล้วขัดปูนตำสีขาว ชาวบ้านจึงเรียกว่า “หลวงพ่อขาว” เจดีย์ เป็นเจดีย์ ทรงลังกา ( ระฆังคว่ำ )ศิลปะสมัยสุโขทัย ตามประวัติสร้างมาแต่ครั้งกรุงสุโขทัย องค์พระเจดีย์สร้างด้วยหินศิลาแลง ขนาด ฐานกว้าง ๑๖ เมตร ยาว ๑๖ เมตร สูง ๒๔ เมตร ตั้งอยู่ด้านหลังอุโบสถ บนเกาะกลางสระน้ำ รอยพระพุทธบาท เป็นรอยพระพุทธบาทจำลองสมัยสุโขทัย จำหลักเป็นเป็นลายมงคล ๑๐๘ สลักบนศิลา ขนาด กว้าง ๑.๒๕ เมตร ยาว ๒.๐๙ เมตร หนา ๒๒ ซ.ม. เป็นรอยพระบาทเบื้องขวา ที่ขอบมีดอกจันโดยรอบ ๕๔ ดอก ภายในรอยพระบาทจำหลักเป็นลายชาดกต่าง ๆ ตามประวัติ พระมหาธรรมราชาลิไททรงให้จำลองมาจากประเทศศรีลังกา ประมาณปี พ.ศ. ๑๙๐๒ แล้วได้นำมาประดิษฐานไว้ที่เขาพระบาทใหญ่ซึ่งตั้งอยู่ทางทิศหรดี( ตะวันตกเฉียงใต้ ) ของตัวเมืองเก่า ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๓ พระราชประสิทธิคุณ อดีตเจ้าคณะจังหวัดสุโขทัย ได้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่เกาะกลางสระน้ำ โดยสร้างเป็นมณฑปครอบไว้ แล้วได้จัดงานนมัสการเป็นต้นมาทุกปี คือ วัน ขึ้น ๖ ค่ำ เดือน ๔ จนปัจจุบันนี้ ซุ้มพระร่วง-ขอมดำดิน ซุ้มพระร่วง เดิมนั้นตั้งอยู่ที่วัดมหาธาตุ ต่อมาประมาณ พ.ศ. ๒๕๒๖ ได้ย้ายมาตั้งอยู่ที่ประตูหน้าทางเข้าเกาะด้านทิศตะวันออกของเกาะวัดตระพังทอง อันเป็นที่สักการะและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวบ้านเมืองเก่า คือ องค์พระร่วงเจ้า และขอมดำดิน องค์พระร่วงเจ้านั้นมีลักษณะคล้ายพระพุทธรูปปางลีลา ทำด้วยปูนปั้นขนาดความสูง๗ ฟุต ส่วนขอมดำดินนั้น ขนาดความสูง ๖๕ เซนติเมตร ทำด้วยปูนปั้นเช่นเดียวกัน การศึกษา ได้มีการเปิดสอน ๑. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ๒. โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลี เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๓๐ ๓. ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๐ นอกจากนี้มีโรงเรียน โรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดตระพังทอง ตั้งอยู่ในที่ดินวัด เนื้อที่ ๔ ไร่ มีพระภิกษุจำพรรษา ประมาณปีละ ๒๕ รูป สามเณร ๑๐ รูป รายนามเจ้าอาวาส ตั้งแต่รูปแรกถึงปัจจุบัน (เท่าที่ทราบ) จำนวน ๑๑ รูป รูปที่ ๑ พระอาจารย์เนตร พ.ศ. ๒๔๖๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๗๐ รูปที่ ๒ พระปลัดบุญธรรม พ.ศ. ๒๔๗๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๓ รูปที่ ๓ พระอาจารย์ทึม พ.ศ. ๒๔๘๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๑ รูปที่ ๔ พระครูสุขวโรทัย (ประดับ อินฺทโชโต) พ.ศ. ๒๔๙๒ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๖ รูปที่ ๕ พระอาจารย์เตี้ย ฐานตฺตโม พ.ศ. ๒๔๙๙ ถึง - รูปที่ ๖ พระอาจารย์เฉลิม พ.ศ. ๒๕๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๕๐๒ รูปที่ ๗ พระมหาธวัช พ.ศ. ๒๕๐๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๒ รูปที่ ๘ พระอาจารย์จวง ปญฺญาทีโป พ.ศ. ๒๕๑๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๐ รูปที่ ๙ พระมหาจำรัส สิริปุญฺโญ (ป.ธ. ๔) พ.ศ. ๒๕๒๑ ถึง พ.ศ. ๒๕๒๔ รูปที่ ๑๐ พระครูวิมลธรรมโกศล (ป.ธ. ๓) พ.ศ. ๒๕๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๗ รูปที่ ๑๑ พระมหาดำรงค์ สนฺตจิตฺโต (ป.ธ.๗) พ.ศ. ๒๕๔๗ ถึง ปัจจุบัน ความเป็นมาของวัด / ชื่อวัด/ ผู้สร้าง/ การสร้างและการบูรณะพัฒนาวัด เหตุการณ์ต่าง ๆ ที่สำคัญซึ่งเกี่ยวกับวัดตั้งแต่เริ่มสร้างจนถึงปัจจุบัน วัดตระพังทองนั้น ตามประวัติความเป็นมาเป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัยสุโขทัยเป็นราชธานี ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของกรุงเก่าสุโขทัย ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดถึงผู้สร้าง ส่วนชื่อวัดนั้น คำว่า “ตระพัง” หมายถึง สระน้ำ เช่น ตระพังเงิน ตระพังสอ เป็นต้น ซึ่งเป็นวัดเก่าที่ตั้งอยู่ในเขตอุทยาน ฯ และมีสระน้ำล้อมรอบ เช่นเดียวกันกับวัดตระพังทอง ฉะนั้น คำว่า ตระพังทอง จึงหมายถึง สระทอง วัดตระพังทองตามที่ปรากฏเป็นวัดที่มีภิกษุจำพรรษามาตลอด ซึ่งเป็นที่บำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป โดยเฉพาะชาวบ้านเมืองเก่า การบูรณะและพัฒนาวัดนั้นได้ทำการบูรณะมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งทางด้านวัตถุ และการศึกษา โดยเฉพาะด้านการศึกษานั้น ได้มีการเรียนการสอนอย่างเป็นรูปธรรมมากขึ้นในสมัย พระครูวิมลธรรมโกศล ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส โดยท่าน ได้เป็นผู้วางรากฐานการศึกษาทั้งแผนกธรรมและบาลี จนได้มีการเรียนการสอนมาถึงปัจจุบันนี้ นอกจากนั้นท่านยังเป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนการกุศลของวัด คือ “โรงเรียนอนุบาลการกุศลวัดตระพังทอง” ส่วนด้านทางวัตถุนั้น ท่านได้นำศรัทธาสร้างศาลาบำเพ็ญกุศลศพรวมทั้งปรับภูมิทัศน์ของวัดต่าง ๆ เช่น การปลูกต้นไม้ ปรับพื้นดิน ทำถนนภายในวัด เป็นต้น

สินค้าใกล้เคียงในหมวด

พระเครื่อง

ร้านค้าออนไลน์ , ขายของออนไลน์

SiamShop.com ผู้ให้บริการด้าน ร้านค้าออนไลน์ เปิดร้านค้าออนไลน์

โดยทีมงานที่มีประสบการณ์การทำเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์กว่า 6 ปี
© Copyright 2024 All right reserved. SiamShop.com

ติดต่อเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ที่ [email protected]

เวลาทำการ : จ-ศ 8:30-17:30 น.