หมวดสินค้า
สินค้าขายดี
สินค้าใหม่

ผลิตภัณฑ์แปรรูป
    ผงนัว
       รากสามสิบแช่อิ่มอบแห้ง
       รากสามสิบแคปซูล
       ขมิ้นชันแคปซูล
       ฟ้าทะลายโจรแคปซูล
       ชะมวงแคปซูล
       ชารางจืด
       ชามะขามป้อม
       ชาดอกจาน
       ชายานางแดง
       ชะมวงบรรจุแคปซูล
    ข้าวฮาง
เครื่องดื่ม
    น้ำหมากเม่า
       ไวน์หมากเม่า
    น้ำหมากเม่าพร้อมดื่ม 100%
ผักพื้นบ้านตามฤดูกาล
    ผักสดพื้นบ้านฤดูหนาว
       ใบหญ้านางสด
       ตะไคร้ตัดสด
       ฟักทอง
       ยอดผักหนาม
       ยอดผักแต้ว/ดอกผักแต้ว
       ดอกผักคอนแคน
       ผักสดพื้นบ้านฤดูฝน
    ผักสดพื้นบ้านฤดูร้อน
    ผักสดพื้นบ้านฤดูฝน
    ผักสดพื้นบ้านทุกฤดูกาล
       หน่อหวายตัดสด
พันธุ์ไม้
    พันธุ์ไม้พื้นบ้าน
       พันธุ์หมากเม่า
       กำลังเสือโคร่ง
       คอนแคน
       จันผา
       สมอไท
       มะขามป้อม
       ผักหนาม
       ว่านขันหมากเศรษฐี
       ว่านเสน่สาวหลง
       หญ้านาง
       หญ้านางแดง
       เนียมอ้ม
       กระแจะ(เล็บครุฑสร้อย)
    พันธุ์ไม้ป่า
       ยางนา
       ยางกราด(สะแบง)
       ยางเหียง(ชาด)
       กระบาก
       ตะเคียน
       เต็ง
       รัง
       มะป่วน/กล้วยขี้เห็น/ปอแฮด
ผลไม้พื้นบ้านตามฤดูกาล

เมนูร้าน
หน้าแรก
สินค้า
เว็บบอร์ด
ข่าวสารร้าน
บทความ
วิธีการสั่งซื้อ
วิธีชำระเงิน
การรับ-ส่งสินค้า
ติดต่อเรา
เกี่ยวกับเรา






  สินค้าขายดี

น้ำหมากเม่าพร้อมดื่มขวดกลม 300 ml.ตราอินแปง
ราคา 125 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
น้ำหมากเม่าอินแปง พร้อมดื่ม เข้มข้น100%
ราคา 70 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
หมากเม่าพันธุ์ดี
ราคา 65 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
หมากเม่าพันธุ์ดี
ราคา 100 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
สมุนไพรบำรุงกำลัง
ราคา 60 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
ว่านเสน่ห์สาวหลง
ราคา 25 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
สมุนไพรล้างพิษ
ราคา 25 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง
ว่านขันหมากเศรษฐี
ราคา 50 บาท
ร้าน : อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง

  ข่าวสารร้าน

กำเนิดผงชูรส

      สารปรุงแต่งรสอาหาร ผงชูรสมีที่มาเริ่มจากในปี พ.ศ.2451 ศาสตราจารย์ ดร.คิคุนาเอะ อิเคดะ แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียวอิมพีเรียล ประเทศญี่ปุ่น ค้นพบว่าผลึกสีน้ำตาลที่สกัดจากสาหร่ายทะเลที่ชื่อว่าคอมบุ คือ กรดกลูตามิก และเมื่อลองชิมพบว่ามีรสใกล้เคียงกับซุปสาหร่ายทะเล ซึ่งเป็นอาหารประจำวันของชาวญี่ปุ่นที่บริโภคกันมาหลายร้อยปี
จึงตั้งชื่อรสชาติของกรดกลูตามิกที่สกัดได้ว่า "อูมามิ" หลังจากนั้นได้จดสิทธิบัตรการผลิตกรดกลูตามิกในปริมาณมากๆ อันเป็นที่มาของอุตสาหกรรมผงชูรสในปัจจุบัน
ผงชูรสมีการขายในเชิงพาณิชย์ครั้งแรก ภายใต้ชื่อการค้าเป็นภาษาญี่ปุ่นว่า .......หมายถึง แก่นแท้ของรสชาติ ผลิตโดยใช้วิธีการย่อยแป้งสาลีด้วยกรด เพื่อให้ได้กรดอะมิโนแล้วจึงแยกกลูตาเมตออกมาภายหลัง
กระบวนการผลิตในปัจจุบันเริ่มจากใช้ขบวนการย่อยสลายแป้งมันสำปะหลังทางเคมี โดยใช้กรดกำมะถันหรือกรดซัลฟูริกที่อุณหภูมิ 130 องศาเซลเซียส จนได้สารละลายน้ำตาลกลูโคส จากนั้นผ่านกระบวนการหมักโดยใช้ยูเรียและเชื้อจุลินทรีย์จนได้แอมโมเนียกลูตาเมต ส่งผ่านกระบวนการทางเคมีต่อโดยใช้กรดเกลือหรือกรดไฮโดรคลอริก จนได้เป็นกรดกลูตามิก และผ่านกระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีโดยใช้โซเดียมไฮดรอกไซด์ จะได้สารละลายผงชูรสหยาบ นำไปผ่านขบวนการฟอกสีโดยใช้สารฟอกสี จนเป็นสารละลายผงชูรสใส แล้วผ่านขั้นตอนสุดท้ายด้วยการทำให้ตกผลึกจนกลายเป็นผลึกผงชูรส
อาการแพ้ผงชูรส หรือที่รู้จักกันทั่วไปว่า "ไชนีสเรสทัวรองซินโดรม" (Chinese Restaurant Syndrome) หรือ "โรคภัตตาคารจีน" เพราะร้านอาหารจีนมักใช้ผงชูรสกันมากนั่นเอง จะมีอาการชาและร้อนวูบวาบที่ปาก ลิ้น ใบหน้า โหนกแก้ม ต้นคอ หน้าอก บางคนมีผื่นแดงเกิดขึ้นตามตัว แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก
ประโยชน์ผงชูรสคงแค่เพิ่มความอร่อย แต่มีโทษมหันต์ถ้ากินในปริมาณมากเกินไป กำหนดไว้ไม่ควรบริโภคเกิน 2 ช้อนชาต่อวัน
หากบริโภคมากเกินไปผงชูรสจะไปทำลายสมองส่วนควบคุมการเจริญเติบโต และระบบสืบพันธุ์ของร่างกาย ทำลาย ระบบประสาทตา สายตาเสีย ก่อให้เกิดมะเร็งได้โดยเฉพาะอาหารที่หมักผงชูรสแล้วนำไปปิ้ง ย่าง นอกจากนี้ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ถ้าบริโภคมากเกินไปจะผ่านเยื่อกั้นระหว่างรกภายในร่างกายของผู้เป็นมารดากับทารกในครรภ์ได้ ทำให้ทารกในครรภ์ได้รับผลกระทบจากผงชูรสด้วย

 

ผงนัว(ใช้แทนผงชูรส)

            ผงชูรส เป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นตัวการทำให้เกิดอาการมือสั่น หัวใจเต้นแรง ยิ่งถ้าร่างกายได้รับปริมาณที่มากเกินไปจะมีผลต่อระบบประสาท ทั้งยังเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกรณีผงชูรสไหม้ไฟ ทำให้เกิดกระแสเลิกบริโภคผงชูรสไปชั่วขณะ วิถีชีวิตของคนยุคปัจจุบันที่ต้องฝากท้องไว้กับอาหารถุง อาหารจานเดียว ทำให้โอกาสที่จะหลีกเลี่ยงจึงเป็นไปได้ยาก จะมีพ่อค้าแม่ค้าสักกี่รายที่ไม่ใช้ผงชูรส อีกทั้งอาหารกึ่งสำเร็จรูปทั้งหลาย หรือแม้แต่ขนมกรุบกรอบของเด็กก็ยังหนีไม่พ้น

กำเนิดแห่งผงนัว

        คนอีสานในอดีตนั้นได้รู้จักที่จะนำพืชชนิดต่างมาใช้ในการปรุงอาหาร ซึ่งก็ไม่ได้มีกรรมวิธีซับซ้อนอะไรมากมายนักมีเพียงนำพืชสดๆมามารวมกันแล้วก็ปรุงเป็นอาหารได้เลยซึ่งพืชแต่ละชนิดนอกจากจะให้รสชาติที่แตกต่างกันไปแล้ว  ก็ยังเป็นอาหารไปในตัวด้วย

        พัฒนาการของผงนัวนั้นเริ่มต้นขึ้นเมื่อ นายสมพร  ถาปันแก้ว ราษฎร บ้านโนนทรายคำ ตำบลนาม่องอำเภอกุดบากจังหวัดสกลนคร ซึ่งเป็นสมาชิกเครือข่ายอินแปงได้นำเอา “ข้าวเบือ” ซึ่งเป็นเครื่องปรุงชนิดหนึ่งของคนอีสานทำจากข้าวเพียวๆ  มาผสมกับพืชหลายชนิดเพื่อใช้ปรุงอาหารในตอนนั้นยังไม่มีชื่อเรียก จากการทดลองของเขา นำไปสู่การพัฒนาสูตรของผงนัว หลากหลายสูตร ในเวลาต่อมาเครือข่ายอินแปงร่วมกับสถาบันวิจัยการเกษตรจังหวัดสกลนคร(คณะทรัพย์ฯมทร.วข.สกลนครในปัจจุบัน)ได้นนำ “แป้งนัว”ชื่อเรียกในสมัยนั้น ไปพัฒนาต่อ จนกลายมาเป็น “ผงนัว”ในปัจจุบัน

พืชที่นำมาทำผงนัวได้ก็มีหลายชนิดเช่น ใบผักหวาน, ใบมะรุม, ใบหม่อน, ใบกระเทียม, ใบหอม, ใบมะขาม, ใบกระเจี๊ยบ, ผักโขมทั้งต้น, ใบส้มป่อย, ใบน้อยหน่า, ใบชะมวง, ใบกุยช่าย เลือกใบที่ไม่แก่ไม่อ่อนจนเกินไป โดยผสมผักพื้นบ้านในอัตราส่วนที่ต่างกันไป แต่ที่มีอัตราส่วนปริมาณมากคือผักหวานและใบหม่อน รองลงมาเป็นใบมะรุม และที่ใส่ลงไปน้อยสุดคือใบน้อยหน่า เนื่องจากมีการถ่ายทอดมาว่าใบน้อยหน่ามีพิษ ซึ่งคนสมัยโบราณนำใบน้อยหน้ามาฆ่าเหา แต่อะไรก็แล้วแต่ถ้ามีพิษ และมีรสขมหากใส่แต่น้อยถือว่าเป็นยา ขณะเดียวกันชาวบ้านยังใช้ใบน้อยหน่ามาแกงกินได้
            ขณะเดียวกัน ก็เพิ่มข้าวเหนียวแช่น้ำ ข้าวกล้องแช่น้ำและข้าวเหนียว นึ่งสุก ข้าวกล้องหุงสุก และเติมเกลือไอโอดีนลงไป ผ่านการอบแห้งแล้วป่นรวมกัน ซึ่งงานวิจัยผงนัว ยังคงส่วนผสมที่ชาวบ้านเคยทำไว้แต่มาปรับปรุงด้านสัดส่วน และเพิ่มเกลือไอโอดีนลงไป พร้อมดัดแปลงเรื่องของรสชาติที่เหมาะกับอาหารแต่ละชนิด

ผงนัวจากงานวิจัยได้มีการทดสอบรสชาติให้เป็นที่น่าพอใจจึงมีด้วยกัน 2 รส คือ รสมันหวาน ใช้สำหรับ ต้ม ผัด หมัก แกงและย่าง และ รสเปรี้ยว ใช้กับต้มยำ ยำ ลาบ อ่อม แจ่ว รสนี้เพิ่มผักที่มีรสเปรี้ยวอย่าง ส้มป่อย ใบมะขาม เพิ่มขึ้น ทั้งนี้ รสชาติของผงนัวจะเพิ่มรสให้อาหารได้นั้นต้องใส่ในน้ำต้มแกงตอนร้อน แต่ถ้าชิมเปล่าๆ จะไม่มีรสชาติ แต่รู้สึกได้ว่ามีรสปะแล่มๆ คล้ายกับผงชูรสที่ขายตามท้องตลาด การทำผงนัวต้องใช้เวลาทั้งปี เพื่อเก็บใบของผักพื้นบ้านให้ครบทุกชนิด เนื่องจากผักแต่ละชนิดจะมีตามฤดูกาล เช่น ใบหอม ใบกระเทียมจะมีตอนฤดูหนาว ผักหวานต้องรอให้ถึงหน้าฝนจึงจะมีใบ

    คุณสมบัติของผงนัว

          ผงนัวนอกจากมีคุณสมบัติเป็นเครื่องปรุงรสแล้ว ยังให้ประโยชน์ด้านสมุนไพร โดยเฉพาะตัวผักพื้นบ้านเองมีวิตามินและเกลือแร่ต่างๆ ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย และจากการศึกษาของสถาบันการแพทย์แผนไทยพบว่า ใบมะขามอ่อน, ยอดส้มป่อย, ผักหวานป่า, ผักหวานบ้าน, ผักโขมและชะมวง อีกทั้งดอกมะรุม มีศักยภาพในการต้านอนุมูลอิสระในระดับที่สูงมาก
          นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่า กุยช่าย มีฟอสฟอรัสช่วยบำรุงกระดูก ใบหม่อน มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไอ ระงับประสาท กระเจี๊ยบแดง ช่วยขับเสลดทำให้โลหิตไหลเวียนดี ทั้งนี้ ผักพื้นบ้านยังมีสารลดไขมันในเส้นเลือดป้องกันโรคมะเร็ง โรคเบาหวาน ช่วยฟอกโลหิตและบำรุงร่างกาย

วิธีการทำผงนัวมีการถ่ายทอดไปสู่ชุมชนมากขึ้น ผลิตเป็นผลิตภัณฑ์บริโภคกันเองในชุมชน บางที่ผงชูรสถึงกับขายไม่ออก โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคเบาหวานนิยมหันมาใช้ผงนัวเยอะขึ้น







ร้าน อินแปง โปรดักส์แอนด์ ซีดลิง ( ผงปรุงรส ผงนัว สมุนไพรบำรุงกำลัง ) | ติดต่อเรา
By SiamShop.com © Copyright 2004-2024 All right reserved. สงวนลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537